Category Archives: อำเภอกงไกรลาศ

อำเภอกงไกรลาศ

อำเภอกงไกรลาศ เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดสุโขทัย

ประวัติ

[แก้]

กงไกรลาศเดิมเป็นแขวงหนึ่งของเมืองสุโขทัย[1] ปรากฏหลักฐานการตั้งเป็นอำเภอกงไกรลาศเมื่อ พ.ศ. 2437 โดยมีพระกงไกรลาศดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรก ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บนเกาะเล็ก ๆ ชื่อ “เกาะกง” ต่อมาใน พ.ศ. 2460 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอกงไกรลาศเป็นอำเภอบ้านไกร เนื่องจากเกาะกงมีน้ำท่วมถึงในฤดูน้ำหลาก ไม่สะดวกในการติดต่อราชการของประชาชน ในปีเดียวกันนั้นจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งบนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำยม ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิมประมาณ 15 เส้น

ต่อมาใน พ.ศ. 2482 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอบ้านไกรเป็นอำเภอกงไกรลาศดังเดิม เนื่องจากชื่อกงไกรลาศ ปรากฏในประวัติศาสตร์ไทยมายาวนาน และใน พ.ศ. 2505 เอื้อน รงค์ทอง นายอำเภอ ได้พิจารณาเห็นว่าบริเวณที่ว่าการอำเภอเดิมคับแคบขยายไม่ได้ ทั้งยังมีน้ำท่วมถึง ประกอบกับอาคารที่ว่าการอำเภอเริ่มชำรุดทรุดโทรม จึงให้ขออนุญาตย้ายไปสร้างที่แห่งใหม่ กระทรวงมหาดไทยได้อนุญาตให้ย้ายไปสร้างที่แห่งใหม่บริเวณริมถนนสิงหวัฒน์ หลักกิโลเมตรที่ 21 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกร่าง เนื้อที่ 25 ไร่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิม 3 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2505[2] จนถึงปัจจุบัน ส่วนสถานที่เดิมใช้เป็นที่ตั้งสถานีอนามัยตำบลกง

  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย เป็น อำเภอบ้านไกร[3]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอบ้านไกร จังหวัดสุโขทัย เป็น อำเภอกงไกรลาศ[4] ดังเดิม
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบ้านกร่าง แยกออกจากตำบลกง ตั้งตำบลไกรใน แยกออกจากตำบลไกรกลาง และตำบลป่าแฝก[5]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2491 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกงไกรลาศ (1,2,3,4,5)[6]
    • (1) โอนพื้นที่หมู่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลท่าฉนวน ไปตั้งเป็นหมู่ 5 ของตำบลกง
    • (2) โอนพื้นที่หมู่ 3 (ในขณะนั้น) ของตำบลไกรใน ไปตั้งเป็นหมู่ 5 ของตำบลป่าแฝก
    • (3) โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลป่าแฝก ไปตั้งเป็นหมู่ 4 ของตำบลไกรกลาง
    • (4) โอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลไกรใน ไปตั้งเป็นหมู่ 3 ของตำบลไกรกลาง
    • (5) โอนพื้นที่หมู่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลไกรกลาง ไปตั้งเป็นหมู่ 5 ของตำบลไกรใน
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลกงไกรลาศ ในท้องที่บางส่วนของตำบลกง ตำบลบ้านกร่าง และตำบลป่าแฝก[7]
  • วันที่ 11 มิถุนายน 2517 ตั้งตำบลหนองตูม แยกออกจากตำบลท่าฉนวน[8]
  • วันที่ 14 กรกฎาคม 2521 ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 354 วันที่ 13 ธันวาคม 2515 และจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอพรานกระต่าย อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร[9]
  • วันที่ 6 พฤศจิกายน 2522 ตั้งตำบลบ้านใหม่สุขเกษม แยกออกจากตำบลกกแรต [10]
  • วันที่ 27 พฤษภาคม 2541 กำหนดเขตหมู่บ้านในท้องที่ใหม่ โดยให้ตำบลไกรใน มี 14 หมู่บ้าน ตำบลไกรกลาง มี 8 หมู่บ้าน ตำบลกกแรต มี 11 หมู่บ้าน ตำบลบ้านใหม่สุขเกษม มี 8 หมู่บ้าน ตำบลไกรนอก มี 8 หมู่บ้าน ตำบลดงเดือย มี 9 หมู่บ้าน ตำบลบ้านกร่าง มี 5 หมู่บ้าน ตำบลกง มี 13 หมู่บ้าน ตำบลหนองตูม มี 7 หมู่บ้าน ตำบลท่าฉนวน มี 10 หมู่บ้าน และตำบลป่าแผก มี 9 หมู่บ้าน[11]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลกงไกรลาศ ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลกงไกรลาศ ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 1 ตุลาคม 2546 แยกบ้านโพธิ์หอม หมู่ที่ 1 ตำบลดงเดือย จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 11 บ้านคลองยายนี[12]
  • วันที่ 21 มีนาคม 2549 แยกบ้านหนองตูม หมู่ที่ 1 ตำบลหนองตูม จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 8 บ้านเจริญสุข[13]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

อำเภอกงไกรลาศตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสุโขทัย อยู่ในเขตพื้นที่ราบลุ่มน้ำยมตอนล่าง ไม่มีภูเขา มีแม่น้ำยมไหลผ่านเป็นสายหลักของอำเภอ แม่น้ำยมที่ไหลผ่านบริเวณอำเภอกงไกรลาศมีความคดเคี้ยว จึงทำให้บริเวณนี้เกิดน้ำท่วมซ้ำซากบ่อยครั้ง บริเวณตอนใต้ของอำเภอ คือ ตำบลหนองตูม มีป่าสงวนแห่งชาติอยู่ 1 แห่ง คือ ป่าสงวนแห่งชาติหนองตูม

อำเภอกงไกรลาศมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอกงไกรลาศแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 109 หมู่บ้าน ได้แก่

1. กง (Kong) 7. ป่าแฝก (Pa Faek)
2. บ้านกร่าง (Ban Krang) 8. กกแรต (Kok Raet)
3. ไกรนอก (Krai Nok) 9. ท่าฉนวน (Tha Chanuan)
4. ไกรกลาง (Krai Klang) 10. หนองตูม (Nong Tum)
5. ไกรใน (Krai Nai) 11. บ้านใหม่สุขเกษม (Ban Mai Suk Kasem)
6. ดงเดือย (Dong Dueai)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอกงไกรลาศประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลกงไกรลาศ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกง ตำบลบ้านกร่าง และตำบลป่าแฝก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกงและตำบลบ้านกร่าง (นอกเขตเทศบาลตำบลกงไกรลาศ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไกรนอกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไกรกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไกรกลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลไกรใน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไกรในทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงเดือย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงเดือยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแฝก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าแฝก (นอกเขตเทศบาลตำบลกงไกรลาศ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกกแรต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกกแรตทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าฉนวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าฉนวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองตูมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่สุขเกษม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่สุขเกษมทั้งตำบล

การขนส่ง

[แก้]

อำเภอกงไกรลาศมีถนนสายสำคัญดังนี้

  1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (แม่สอด-มุกดาหาร) ช่วงที่ผ่านอำเภอกงไกรลาศ ชื่อว่า ถนนสิงหวัฒน์
  2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1055 (แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (บ้านกร่าง) เทศบาบตำบลกงไกรลาศ-บรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1293 (หนองตูม)
  3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1057 (แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 เทศบาลตำบลกงไกรลาศ – อำเภอพรหมพิราม)

นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

สถานที่สำคัญ

[แก้]

  • วัดกงไกรลาศ
  • หลวงพ่อโตวิหารลอย
  • วัดทุ่งเนินพยอม
  • ถนนคนเดินเส้นทางวัฒนธรรมบ้านกง
  • วัดโบสถ์ ตำบลไกรนอก
Call Now Button