Category Archives: อำเภอแหลมงอบ
อำเภอแหลมงอบ
อำเภอแหลมงอบ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดตราด อำเภอแหลมงอบแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 27 หมู่บ้าน ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
อำเภอแหลมงอบมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอขลุง (จังหวัดจันทบุรี) อำเภอเขาสมิง และอำเภอเมืองตราด
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองตราด
- ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอ่าวไทย

ประวัติ
[แก้]
สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2446 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยได้เสียดินแดนให้แก่ประเทศฝรั่งเศส เนื่องมาจากการตกลงทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) ซึ่งทำให้ไทยจำต้องยกดินแดนจังหวัดตราดและเกาะต่าง ๆ ตั้งแต่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรีไปจนถึงเกาะกูด และจังหวัดปัจจันตคิรีเขตร หรือ เกาะกง ให้แก่ฝรั่งเศสเพื่อแลกเปลี่ยน ให้ฝรั่งเศสถอนกองทหารไปจากจันทบุรี โดยสัญญาฉบับนี้ ได้ให้สัตยาบันต่อกันและมีผลทำให้กองทหารฝรั่งเศสต้องถอนออกไปจากเมืองจันทบุรีตามสัญญา ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2447[1] ต่อมาได้มีการใช้พระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116) คือจัดตั้งอำเภอ ตำบล กับหมู่บ้านขึ้น ที่ทำงานของรัฐบาลในอำเภอเรียกว่า “ที่ว่าการอำเภอ” ซึ่งมีผลทำให้เกาะช้าง เกาะกูด หมู่เกาะบริเวณข้างเคียง และหมู่บ้านแหลมงอบ (ฝั่งแผ่นดินใหญ่) จัดตั้งขึ้นเป็น อำเภอเกาะช้าง ในปี พ.ศ. 2447 (ร.ศ. 123) และเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอแหลมงอบ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2482[2]
- วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด เป็น อำเภอแหลมงอบ[3]
- วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2490 โอนพื้นที่หมู่ 7 เกาะกูด เกาะไม้ซี้ (ในขณะนั้น) ของตำบลเกาะช้าง อำเภอแหลมงอบ ไปตั้งเป็นหมู่ 8 ของตำบลคลองใหญ่ กิ่งอำเภอคลองใหญ่ อำเภอเมืองตราด[4]
- วันที่ 30 พฤศจิกายน 2491 โอนพื้นที่หมู่ 8 เกาะกูด (ในขณะนั้น) ของตำบลคลองใหญ่ กิ่งอำเภอคลองใหญ่ อำเภอเมืองตราด มาตั้งเป็นหมู่ 9 ของตำบลเกาะช้าง อำเภอแหลมงอบ[5]
- วันที่ 8 กรกฎาคม 2495 ตั้งตำบลเกาะหมาก แยกออกจากตำบลเกาะช้าง[6]
- วันที่ 3 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลแหลมงอบ ในท้องที่บางส่วนของตำบลแหลมงอบ[7]
- วันที่ 24 ตุลาคม 2504 จัดตั้งสุขาภิบาลน้ำเชี่ยว ในท้องที่บางส่วนของตำบลน้ำเชี่ยว[8]
- วันที่ 30 กันยายน 2523 ตั้งตำบลเกาะกูด แยกออกจากตำบลเกาะหมาก[9]
- วันที่ 26 กันยายน 2529 ตั้งตำบลคลองใหญ่ แยกออกจากตำบลแหลมงอบ[10]
- วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 แยกพื้นที่ตำบลเกาะหมาก และตำบลเกาะกูด จากอำเภอแหลมงอบ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเกาะกูด[11] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอแหลมงอบ
- วันที่ 12 กันยายน 2533 ตั้งตำบลเกาะช้างใต้ แยกออกจากตำบลเกาะช้าง[12]
- วันที่ 26 พฤษภาคม 2537 แยกพื้นที่ตำบลเกาะช้าง และตำบลเกาะช้างใต้ จากอำเภอแหลมงอบ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเกาะช้าง[13] และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอแหลมงอบ
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลแหลมงอบ และสุขาภิบาลน้ำเชี่ยว เป็นเทศบาลตำบลแหลมงอบ และเทศบาลตำบลน้ำเชี่ยว ตามลำดับ[14] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 7 กันยายน 2546 ให้พื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านหนองใหญ่ ตำบลน้ำเชี่ยว ซึ่งมีพื้นที่ทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลตำบลน้ำเชี่ยว โดยส่วนที่อยู่นอกเขตเทศบาลมีสภาพไม่เข้าองค์ประกอบความเป็นหมู่บ้าน ไปรวมกับพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านท่าประดู่ ตำบลน้ำเชี่ยว[15]
- วันที่ 9 กรกฎาคม 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำเชี่ยว รวมกับเทศบาลตำบลน้ำเชี่ยว[16]
- วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเกาะกูด และกิ่งอำเภอเกาะช้าง อำเภอแหลมงอบ เป็น อำเภอเกาะกูด และ อำเภอเกาะช้าง[17] ตามโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]
อำเภอแหลมงอบแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 27 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[18] |
---|---|---|---|---|
1. | แหลมงอบ | Laem Ngop |
7
|
5,454
|
2. | น้ำเชี่ยว | Nam Chiao |
4
|
3,210
|
3. | บางปิด | Bang Pit |
8
|
4,484
|
4. | คลองใหญ่ | Khlong Yai |
8
|
6,033
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]
ท้องที่อำเภอแหลมงอบประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลแหลมงอบ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแหลมงอบ
- เทศบาลตำบลน้ำเชี่ยว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำเชี่ยวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมงอบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมงอบ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแหลมงอบ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางปิด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปิดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองใหญ่ทั้งตำบล