แผ่นใส สีใสกระจก สรรพาวุธ : แผ่นเดียว ก็ขาย แผ่นใส สีใส […]
Category Archives: ถนนสรรพาวุธ
ถนนสรรพาวุธ
ถนนสรรพาวุธ is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
ถนนสรรพาวุธ เป็นถนนทางสายหลักของ เขตบางนา
เขตบางนา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นเขตชุมชนเมืองหนาแน่นปานกลางผสมกับชุมชนการเกษตร[ต้องการอ้างอิง]
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตพระโขนง มีคลองบางอ้อ, ถนนวชิรธรรมสาธิต, ซอยวชิรธรรมสาธิต 32, ซอยอุดมสุข 29 และถนนอุดมสุขเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตประเวศและอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองเคล็ดและคลองบางนา (สาหร่าย) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางพลี อำเภอเมืองสมุทรปราการ และอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
ท้องที่เขตบางนาในอดีตมีฐานะเป็น ตำบลบางนา เป็นเขตการปกครองหนึ่งของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง (เปลี่ยนชื่อมาจากนครเขื่อนขันธ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2457)[2] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2470 ทางราชการได้พิจารณาโอนตำบลบางนาไปขึ้นกับอำเภอสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการแทน เพื่อความสะดวกในการปกครอง[3] แต่ใน พ.ศ. 2472 ก็โอนกลับมาเป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง (ซึ่งได้ย้ายจากจังหวัดพระประแดงมาขึ้นกับจังหวัดพระนครอยู่ก่อนแล้ว) อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กันมากกว่าและประชาชนไปติดต่อธุระราชการได้สะดวกกว่า[4]
ต่อมาในท้องที่ตำบลบางนาเริ่มมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยหนาแน่นขึ้น ในการขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2498 ทางราชการจึงโอนพื้นที่บางส่วนของตำบลบางนาเข้าไปในท้องที่ด้วย[5] ส่วนพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเทศบาลนั้นได้กลายเป็นท้องที่ในเขตสุขาภิบาลประเวศซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2506[6] จนกระทั่งมีการขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพออกไปอีกเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2507 จึงแยกไปรวมอยู่ในเขตเทศบาลทั้งตำบล[7]
ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[9] ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลบางนาจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางนา ขึ้นกับเขตพระโขนง
ภายหลังในเขตพระโขนงและเขตอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานครมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น จำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรในเขตต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมใกล้เคียงกัน เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนง โดยแยกแขวงบางนาและบางส่วนของแขวงบางจากออกมาจัดตั้งเป็น เขตบางนา และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงบางนาเต็มพื้นที่เขตบางนา เพื่อให้เกิดความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[10][11]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศยุบแขวงบางนาและตั้งแขวงขึ้นใหม่ 2 แขวง[12] โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตบางนาในปัจจุบันประกอบด้วยแขวงดังต่อไปนี้
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
บางนาเหนือ | Bang Na Nuea |
42,235
|
31,770
|
||
บางนาใต้ | Bang Na Tai |
47,913
|
35,839
|
||
ทั้งหมด |
18.789
|
90,148
|
67,609
|
4,797.91
|
โดยมีถนนสรรพาวุธและถนนเทพรัตนเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงทั้ง 2 ดังกล่าว ตั้งแต่ท่าเรือสรรพาวุธจนถึงสะพานข้ามคลองบางนา
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางนา[13] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ทางสายหลักในพื้นที่เขตบางนา ได้แก่
- ถนนสุขุมวิท ตั้งแต่ถนนวชิรธรรมสาธิตถึงซอยสุขุมวิท 107 (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- ถนนอุดมสุข ตั้งแต่แยกอุดมสุขถึงคลองเคล็ด
- ถนนเทพรัตน ตั้งแต่แยกบางนาถึงคลองบางนา (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
- ถนนศรีนครินทร์ ตั้งแต่คลองเคล็ดจนสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ถนนสรรพาวุธ ตั้งแต่แยกบางนาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา
- ถนนทางรถไฟสายเก่าปากน้ำ ตั้งแต่คลองบางอ้อจนสุดเขตกรุงเทพมหานคร
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ตั้งแต่คลองบางอ้อถึงแยกบางนา
- ทางพิเศษบางนา-อาจณรงค์ ตั้งแต่คลองบางอ้อถึงแยกบางนา
- ทางพิเศษบูรพาวิถี ตั้งแต่แยกบางนาถึงคลองบางนา (สุดเขตกรุงเทพมหานคร)
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
ระบบขนส่งมวลชน
- รถไฟฟ้าบีทีเอส (สถานีอุดมสุข สถานีบางนา และสถานีแบริ่ง)
สถานที่สำคัญ[แก้]
- วัดบางนาใน
- วัดบางนานอก
- วัดศรีเอี่ยม
- วัดผ่องพลอยวิทยาราม
- ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติกรุงเทพ (ไบเทค)
- ศูนย์พัฒนากีฬาราชนาวี บางนา
- ศูนย์บริการสาธารณสุข 8 บุญรอด รุ่งเรือง
สถานศึกษา[แก้]
|
|
สโมสรกีฬา[แก้]
- สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ
- สโมสรฟุตบอลบางนา