แผ่นใส สีใสกระจก ถนนนวมินทร์: แผ่นเดียว ก็ขาย แผ่นใส สี […]
Category Archives: ถนนนวมินทร์
ถนนนวมินทร์
ถนนนวมินทร์ is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by focus keyword name in category.
ถนนนวมินทร์ เป็นถนนทางสายหลักของ เขตบางกะปิ
เขตบางกะปิ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองทางทิศตะวันออก (ตอนใต้)
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตบางกะปิตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่ม มีถนนประดิษฐ์มนูธรรม คลองเกรียง คลองอ้ายหลาว คลองลำเจียก และคลองตาหนังเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบึงกุ่มและเขตสะพานสูง มีคลองตาหนัง คลองลำพังพวย ถนนนวมินทร์ ถนนศรีบูรพา คลองแสนแสบ คลองบ้านม้า 2 คลองวังใหญ่บน คลองโคลัด และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสวนหลวง มีลำรางแบ่งเขตสวนหลวงกับเขตบางกะปิ คลองหัวหมาก และคลองกะจะเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตห้วยขวางและเขตวังทองหลาง มีคลองแสนแสบ คลองจั่น ถนนลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง) คลองลำพังพวย คลองจั่น และคลองทรงกระเทียมเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
พื้นที่บริเวณเขตบางกะปิในอดีตเป็นป่าทึบ มีชื่อเรียกว่า บางกบี่[2] ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบาง จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพไปปราบจนสำเร็จ และได้กวาดต้อนผู้คนตามหัวเมืองรายทางมาตั้งถิ่นฐานบริเวณริมคลองแสนแสบและคลองกุ่ม
เมื่อมีผู้คนหนาแน่นมากขึ้น จึงได้รับการจัดตั้งเป็น อำเภอบางกะปิ ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระนคร ซึ่งในปี พ.ศ. 2509 ทางราชการได้แบ่งพื้นที่ตำบลบางกะปิและตำบลห้วยขวางไปจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท
ในช่วงปี พ.ศ. 2514–2515 มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองภูมิภาคไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี กล่าวคือ รวมจังหวัดทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่เป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางกะปิจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตบางกะปิ แบ่งออกเป็น 9 แขวง (ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้โอนแขวงสามเสนนอกไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง)
เนื่องจากมีอาณาเขตกว้างขวาง และต่อมามีประชากรเพิ่มขึ้น ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต เพื่อสะดวกแก่การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงแบ่งพื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของเขตไปจัดตั้งเป็นเขตลาดพร้าวและเขตบึงกุ่ม ในปี พ.ศ. 2532 และเมื่อปี พ.ศ. 2540 ก็ได้รวมพื้นที่แขวงวังทองหลางและบางส่วนของแขวงคลองจั่นไปจัดตั้งเป็นเขตวังทองหลาง
โดยที่มาของชื่อ “บางกะปิ” นั้น มีข้อสันนิษฐานมากมาย ตั้งแต่คำว่า “กบิ” หรือ “กบี่” ที่หมายถึง ลิง เพราะพื้นที่แถบนี้ในอดีตเคยเป็นป่าทึบ มีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (ซึ่งสัญลักษณ์ของเขตก็เป็นรูปหนุมานด้วย)[2] หรือมาจาก “กะปิ” ซึ่งเป็นเครื่องปรุงอาหาร เพราะพื้นที่นี้แต่เดิมอุดมสมบูรณ์ด้วยกุ้งเล็ก ๆ มากมาย ประชาชนจึงนิยมนำมาทำกะปิกันมาก
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ปัจจุบันเขตบางกะปิมีหน่วยการปกครองย่อย 2 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
คลองจั่น | Khlong Chan |
12.062
|
79,048
|
47,720
|
6,553.47
|
หัวหมาก | Hua Mak |
16.461
|
67,793
|
56,514
|
4,118.40
|
ทั้งหมด |
28.523
|
146,841
|
104,234
|
5,148.16
|
โดยมีคลองแสนแสบฝั่งเหนือเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างสองแขวงดังกล่าว
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางกะปิ[3] |
---|
สถานที่สำคัญ[แก้]
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- โรงเรียนเทพลีลา
- ราชมังคลากีฬาสถาน
- สนามกีฬาหัวหมาก การกีฬาแห่งประเทศไทย
- พิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ
- มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- การเคหะแห่งชาติ (ประเทศไทย)
- วัดจันทวงศาราม (วัดกลาง)
- วัดเทพลีลา
- วัดพระไกรสีห์ (วัดน้อย)
- วัดบึงทองหลาง (พระเถราจารย์และอดีตเจ้าอาวาส พระครูธรรมสมาจารย์ (พัก ธมฺมทตฺโต) ระหว่าง พ.ศ.2447-2501 และ พระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสฺโส) อดีตเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2501-2547)
- วัดศรีบุญเรือง
- ตลาดแฮปปี้แลนด์
- สวนพฤษกชาติ การเคหะแห่งชาติ
- โรงพยาบาลรามคำแหง
- โรงเรียนบางกะปิ
- เทคโนโลยีบางกะปิ
- เทคโนโลยีช่างอุตสาหกรรมกรุงเทพ
- โรงเรียนบ้านบางกะปิ
- โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ
- เดอะมอลล์บางกะปิ
การคมนาคม[แก้]
- ทางสายหลัก
- ถนนลาดพร้าว
- ถนนรามคำแหง
- ถนนพระราม 9
- ถนนนวมินทร์
- ถนนศรีนครินทร์
- ถนนเสรีไทย
- ซอยรามคำแหง 39
- ทางพิเศษฉลองรัช
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางสายรองและทางลัด
- ถนนแฮปปี้แลนด์
- ถนนกรุงเทพกรีฑา
- ถนนหัวหมาก
- ถนนโพธิ์แก้ว
- ถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง)
- ซอยรามคำแหง 21 (นวศรี)
- ซอยรามคำแหง 24
- ทางน้ำ
- คลองแสนแสบ
- คลองลาดพร้าว