Category Archives: อำเภอบ้านแหลม
อำเภอบ้านแหลม
อำเภอบ้านแหลม เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอำเภอว่า “อำเภอบ้านแหลม” จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 หลังจากที่เคยได้รับการจัดตั้งแล้วถูกยุบรวมกับอำเภอเมืองเพชรบุรี
บ้านแหลมเป็นที่ตั้งของนาเกลือที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยคิดเป็นร้อยละ 47 ของนาเกลือทั้งประเทศ
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
อำเภอบ้านแหลมตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[1]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภออัมพวาและอำเภอเมืองสมุทรสงคราม (จังหวัดสมุทรสงคราม)
- ทิศตะวันออก จรดอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองเพชรบุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองเพชรบุรีและอำเภอเขาย้อย
ประวัติ
[แก้]
สมัยอดีตนั้นอำเภอบ้านแหลมเป็นเสมือนเมืองท่าของเมืองเพชรบุรีที่ใช้เป็นที่ติดต่อค้าขายกับหัวเมืองอื่น ดังนั้นเมืองเพชรบุรีจึงเป็นเมืองที่มีความรุ่งเรืองมาแต่ในอดีตจากการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยมีสินค้าหลักก็คือ น้ำตาลโตนดและเกลือ
ความเป็นเมืองท่าเล็กของสยามประเทศได้สิ้นสุดลงเมื่อได้มีสนธิสัญญาเบอร์นีที่บังคับให้สยามมีการติดต่อค้าขายผ่านทางท่าเรือคลองเตยเพียงแห่งเดียว ภายหลังสนธิสัญญาเบาว์ริงได้มีผลบังคับแทนสนธิสัญญาเบอร์นีและได้ยกเลิกในรัชกาลต่อมา แต่รัฐบาลได้หันไปพัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง หาได้มีการพัฒนาท่าเรือตามเมือง (จังหวัด) อย่างที่เคยมีมาแต่เดิมไม่ ประชาชนที่อยู่ในอำเภอบ้านแหลมในอดีตซึ่งมักจะมีฐานะจากการค้าขายภายหลังจึงได้มีการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าไปทำมาหากินในกรุงเทพมหานคร
ชื่อ “บ้านแหลม” เป็นชื่อเรียกตามสภาพภูมิประเทศที่เป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล เดิมท้องที่อำเภอบ้านแหลมมีฐานะในทางปกครองเป็นส่วนหนึ่งของแขวง 2 แขวง คือ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรีขึ้นอยู่กับ แขวงขุนชำนาญ ทางฝั่งตะวันตกขึ้นอยู่กับ แขวงหลวงพรหมสาร เรียกชื่อตามทินนามของผู้เป็นนายแขวงปกครองอยู่ขณะนั้น ครั้นต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2443 ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยุบรวมอำเภอเมืองเพชรบุรี เมื่อ พ.ศ. 2444[2] ต่อมากรมการอำเภอเมือง ได้แจ้งมณฑลเทศาภิบาลราชบุรี ว่าท้องที่อำเภอเมือง เมืองเพ็ชรบุรี มีพื้นที่กว้างขวาง มีพลเมือง 60,000 เศษ เหลือกำลังเกินที่กรมการอำเภอเมืองจะตรวตรารักษาความสงบเรียบร้อยให้ตลอดทั่วถึงได้ จึงขอแยกอำเภอใหม่ ซึ่งพระยาอมรินทร์ฤๅไชย ข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลราชบุรีได้มีใบบอกไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อนำความกราบบังคบทูลต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอำเภอใหม่ว่า “อำเภอบ้านแหลม” [3] เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2447
- วันที่ 2 กันยายน 2484 โอนพื้นที่หมู่ 4 ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอเมืองเพชรบุรี ไปขึ้นกับตำบลท่าแร้งตก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
- วันที่ 2 กันยายน 2484 โอนพื้นที่หมู่ที่ 7, 8 และ 9 ตำบลบางขุนไทรไปเป็นหมู่ที่ 1, 2 และ 3 ตำบลปากทะเล ตามลำดับ โอนพื้นที่หมู่ที่ 8, 9, 10 และ 11 ไปเป็น หมู่ที่ 1, 2, 3 และ 4 ตำบลบางตะบูนออก โอนพื้นที่หมู่ที่ 1, 2 และ 3 ตำบลท่าแร้ง ไปเป็นหมู่ที่ 1, 2 และ 3 ตำบลท่าแร้งออก และโอนพื้นที่หมู่ที่ 7, 8, 9 และ 10 ตำบลบางแก้ว อำเภออำเภอบ้านแหลมไปเป็น หมู่ที่ 1, 2, 3 และ 4 ตำบลแหลมผักเบี้ย ตามลำดับ [4]
รายนามนายอำเภอ
[แก้]
ลำดับ | รายนาม | ชื่อตำแหน่ง | ช่วงเวลา | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1. | นายตั๋ว [5] | นายอำเภอบ้านแหลม | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2448 | ||
2. | นาย เชิดศักดิ์ ชูศรี | นายอำเภอบ้านแหลม | พ.ศ. 2536– พ.ศ. 2541 | ||
3. | นาย ไพบูลย์ ยิ้มแย้ม | นายอำเภอบ้านแหลม |
![]() |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
|
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]
อำเภอบ้านแหลมแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 73 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[6] |
---|---|---|---|---|
1. | บ้านแหลม | Ban Laem |
10
|
14,112
|
2. | บางขุนไทร | Bang Khun Sai |
11
|
7,048
|
3. | ปากทะเล | Pak Thale |
4
|
2,440
|
4. | บางแก้ว | Bang Kaeo |
8
|
4,824
|
5. | แหลมผักเบี้ย | Laem Phak Bia |
4
|
2,369
|
6. | บางตะบูน | Bang Tabun |
8
|
3,575
|
7. | บางตะบูนออก | Bang Tabun Ok |
5
|
2,730
|
8. | บางครก | Bang Khrok |
12
|
7,058
|
9. | ท่าแร้ง | Tha Raeng |
7
|
5,091
|
10. | ท่าแร้งออก | Tha Raeng Ok |
4
|
3,257
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]
ท้องที่อำเภอบ้านแหลมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบางตะบูน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางตะบูนและตำบลบางตะบูนออก
- เทศบาลตำบลบ้านแหลม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านแหลม
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหลม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านแหลม (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านแหลม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนไทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขุนไทรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากทะเล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากทะเลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมผักเบี้ยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางตะบูนและตำบลบางตะบูนออก (นอกเขตเทศบาลตำบลบางตะบูน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางครก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางครกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าแร้งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแร้งออก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าแร้งออกทั้งตำบล
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
[แก้]
อำเภอบ้านแหลมได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ในการจัดตั้งโครงการพระราชดำริแหลมผักเบี้ย โดยมีพื้นที่ตั้งโครงการอยู่ ณ ตำบลแหลมผักเบี้ย