Category Archives: อำเภอชะอำ
อำเภอชะอำ
อำเภอชะอำ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด ซึ่งมีหาดทรายขาว ยาว และยังเป็นแหล่งเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งเป็นรายได้ให้กับด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ธุรกิจการโรงแรม ธุรกิจการค้าของที่ระลึก ร้านอาหาร การประมง เป็นต้น นอกจากนี้ชะอำยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากชาวไทยและชาวต่างประเทศในระดับต้น ๆ ของประเทศไทย
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
อำเภอชะอำตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้อิอิ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอท่ายาง
- ทิศตะวันออก จรดอ่าวไทย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหัวหิน (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอท่ายาง
ประวัติ
[แก้]
อำเภอชะอำตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2444 ที่บ้านนายาง หมู่ที่ 3 ตำบลนายาง เดิมใช้ชื่อว่า อำเภอนายาง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2457 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอนายางไปตั้งที่บ้านหนองจอกและเปลี่ยนชื่อเป็นเป็น อำเภอหนองจอก (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอท่ายาง) จนกระทั่งหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา กระทรวงมหาดไทยได้ย้ายที่ว่าการอำเภอหนองจอกมาตั้งที่บ้านชะอำ ตำบลชะอำ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2487[1]เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่สะดวกแก่การปกครองและภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอชะอำ[2]ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2487
- วันที่ 5 พฤษภาคม 2444 แบ่งเขตแขวงเมืองเพชรบุรีออกเป็น 6 อำเภอ จัดตั้งอำเภอนายาง และตั้งที่ว่าการอำเภอที่บ้านนายาง[3]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอนายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็น อำเภอหนองจอก[4]
- วันที่ 8 มิถุนายน 2464 มีพระราชองการขนานนามที่หลวงใน ตำบลบางกราที่จัดสร้างขึ้นใหม่ว่า มฤคทายวัน [5]
- วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดเพชรบุรี กับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยโอนพื้นที่หมู่ 7 ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอหนองจอก จังหวัดเพชรบุรี ไปขึ้นกับตำบลหัวหิน กิ่งอำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[6]
- วันที่ 1 ตุลาคม 2480 ยกฐานะตำบลชะอำ และตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอหนองจอก จังหวัดเพ็ชร์บุรี เป็นเทศบาลตำบลชะอำ[7]
- วันที่ 2 กันยายน 2484 โอนพื้นที่ตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอหนองจอก ไปขึ้นกับอำเภอเมืองเพชรบุรี และโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองขนาน อำเภอหนองจอก ไปขึ้นกับตำบลหนองพลับ อำเภอเมืองเพชรบุรี[8]
- วันที่ 26 ธันวาคม 2487 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอหนองจอก จังหวัดเพชรบุรี เป็น อำเภอชะอำ[2]
- วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2490 เปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่อำเภอชะอำ (1,2,3,4,5,6)[9]
- (1) โอนพื้นที่หมู่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12,13 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองจอก อำเภอชะอำ ไปขึ้นกับอำเภอท่ายาง
- (2) โอนพื้นที่หมู่ 15 (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองจอก อำเภอชะอำ ไปขึ้นกับตำบลบางเก่า
- (3) โอนพื้นที่ตำบลหนองขนาน อำเภอชะอำ ไปขึ้นกับ อำเภอเมืองเพชรบุรี
- (4) โอนพื้นที่หมู่ 12,15 (ในขณะนั้น) ของตำบลไร่มะขาม อำเภอชะอำ ไปตั้งเป็นหมู่ 22,34 ของตำบลหนองขนาน
- (5) โอนพื้นที่ตำบลมาบปลาเค้า อำเภอชะอำ ไปขึ้นกับ อำเภอท่ายาง
- (6) โอนพื้นที่ตำบลไร่มะขาม (ยกเว้นพื้นที่หมู่ 12,15) อำเภอชะอำ ไปขึ้นกับอำเภอบ้านลาด
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลหนองกระเจ็ด แยกออกจากตำบลไร่มะขาม ตั้งตำบลดอนยาง แยกออกจากตำบลหนองขนาน[10]
- วันที่ 9 กรกฎาคม 2511 ตั้งตำบลเขาใหญ่ แยกออกจากตำบลนายาง[11]
- วันที่ 8 ตุลาคม 2511 จัดตั้งสุขาภิบาลนายาง ในท้องที่ทั้งหมดของตำบลนายาง และตำบลเขาใหญ่[12]
- วันที่ 7 ตุลาคม 2512 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่อำเภอชะอำ และอำเภอท่ายาง[13]
- วันที่ 10 สิงหาคม 2519 ตั้งตำบลหนองศาลา แยกออกจากตำบลบางเก่า[14]
- วันที่ 2 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลไร่ใหม่พัฒนา แยกออกจากตำบลห้วยทรายเหนือ[15]
- วันที่ 11 กันยายน 2527 ตั้งตำบลสามพระยา แยกออกจากตำบลห้วยทรายเหนือ[16]
- วันที่ 30 มิถุนายน 2530 ตั้งตำบลดอนขุนห้วย แยกออกจากตำบลเขาใหญ่[17] และรับพื้นที่สุขาภิบาลนายาง ในท้องที่ทั้งหมดของตำบลดอนขุนห้วย
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลนายาง เป็นเทศบาลตำบลนายาง
- วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลชะอำ เป็นเทศบาลเมืองชะอำ[18]
- วันที่ 11 ตุลาคม 2550 เปลี่ยนชื่อหมู่ที่ 1 บ้านวังยาว ตำบลดอนขุนห้วย เป็นชื่อ บ้านสระพระพัฒนา[19] เนื่องจากชื่อหมู่บ้านซ้ำกันสองหมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านวังยาว และหมู่ที่ 7 บ้านวังยาว ตำบลดอนขุนห้วย ทำให้เกิดความสับสนในการประสานงาน และติดต่อราชการ
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]
อำเภอชะอำแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 67 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[20] |
---|---|---|---|
1. | ชะอำ | Cha-am |
41,328
|
2. | บางเก่า | Bang Kao |
3,758
|
3. | นายาง | Na Yang |
3,773
|
4. | เขาใหญ่ | Khao Yai |
10,013
|
5. | หนองศาลา | Nong Sala |
2,511
|
6. | ห้วยทรายเหนือ | Huai Sai Nuea |
4,314
|
7. | ไร่ใหม่พัฒนา | Rai Mai Phatthana |
5,996
|
8. | สามพระยา | Sam Phraya |
5,368
|
9. | ดอนขุนห้วย | Don Khun Huai |
5,190
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]
ท้องที่อำเภอชะอำประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองชะอำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะอำทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลนายาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนายาง ตำบลเขาใหญ่ และตำบลดอนขุนห้วยทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางเก่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเก่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองศาลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองศาลาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยทรายเหนือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไร่ใหม่พัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไร่ใหม่พัฒนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสามพระยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามพระยาทั้งตำบล
เศรษฐกิจ
[แก้]

ธุรกิจเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าบทบาททางด้านการบริการ โดยเฉพาะการค้า การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมจะมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของจังหวัดเพชรบุรี อำเภอชะอำจึงเป็นเมืองที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมทำให้มีนักธุรกิจมาลงทุนหลายพันล้าน ส่วนการท่องเที่ยวอำเภอชะอำเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติที่ได้รับความนิยมสูงสุดจึงทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตมากขึ้น
จากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของนักท่องเที่ยว ทำให้บริการด้านการท่องเที่ยวรวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของจังหวัดเพชรบุรีพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ถนน ไฟฟ้า ร้านขายอาหาร ที่พักแรม ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างที่พักตากอากาศ การขายอาหาร ตลอดจนการบริการด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องธุรกิจท่องเที่ยว มีส่วนชักนำให้เกิดการบุกรุก จนทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม รวมทั้งความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชากรด้วย
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
[แก้]
ในอำเภอชะอำยังมีโครงการที่เกี่ยวกับพระราชดำริในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงได้พระราชทานแนวทางการแก้ไขปัญหาของชาวบ้าน ซึ่งมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังนี้
- โครงการพระราชประสงค์หุบกะพง เป็นโครงการเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินทำกินเกษตรกรผู้ยากจนในรูปแบบของหมู่บ้านสหกรณ์ จะเน้นในด้านเกษตรและกิจกรรมสหกรณ์
- ศูนย์สาธิตสหกรณ์ดอนขุนห้วย ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องมาจากโครงการหุบกะพงมุ่งเน้นการจัดหาที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรที่ยากจน
- ศูนย์การศึกษาพัฒนาห้วยทราย เป็นพื้นที่เขตอับฝน เนื่องมาจากป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดการบำรุงรักษาทำให้เกิดการพังทลายค่อนข้างสูง และราษฎรส่วนใหญ่ปลูกไร่สับปะรด โดยใช้สารเคมีมากทำให้คุณภาพของดินต่ำลงด้วย พระองค์มีพระราชดำรัสว่า หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด จึงให้แนวทางการแก้ไขให้เป็นศูนย์การพัฒนาด้านการเกษตรควบคู่ไปกับการปลูกป่า และช่วยส่งเสริมราษฎรสร้างรายได้จากการสร้างผลิตผลจากป่าไม้กับปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ในรูปแบบของเกษตรผสมผสานควบคู่กันไป
จะเห็นได้ว่า ศูนย์การพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ คือมีทั้งการศึกษาการทดลองและสาธิต เพื่อให้เห็นผลทุกด้าน ดังนั้นราษฎรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้อย่างแท้จริง จึงนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและเป็นการเพิ่มรายได้อีกต่อไป
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]
ชะอำ ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิต ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันในจังหวัดเพชรบุรี เป็นชายหาดติดทะเลฝั่งอ่าวไทย แต่เดิม ชะอำ เป็นเพียงตำบลหนึ่ง ขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก แต่ภายหลังที่หัวหินมีชื่อเสียง ที่ดินแถบชายทะเลถูกจับจองหมด พวกเจ้านายชั้นผู้ใหญ่สมัยนั้น จึงพยายามหาสถานที่พักผ่อนแห่งใหม่ โดยการนำของ สมเด็จกรมพระยานราธิปประพันธ์พงศ์ และได้พบว่า หาดชะอำ เป็นชายหาดที่สวยงามไม่แพ้หัวหิน ชะอำ จึงเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่นั้นมา ชะอำ ได้รับการพัฒนาเจริญเติบโตขึ้น และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอหนองจอก มาตั้งที่ตำบลชะอำ และเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอชะอำ
หาดชะอำ
[แก้]

อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 41 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าชายหาด ระยะทาง 2 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่สวยงาม และมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี เดิมชะอำเป็นเพียงตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอหนองจอก เป็นชายหาดที่เคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากตั้งแต่สมัยโบราณ ตามประวัติเล่ากันว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยเสด็จมาที่นี่พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงพอพระราชหฤทัยในความงามของหาดแห่งนี้มาก ทรงประทับแรมอยู่หลายวัน จนกระทั่งชาวบ้านเรียกหาดนี้ว่า หาดเจ้าสำราญ มาจนปัจจุบัน
บริเวณวัดเนรัญชราราม ใกล้กับหาดชะอำเหนือ มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ชื่อว่า พระควัมปติ หรือพระปิดทวาร ที่สร้างขึ้นตามหลักพุทธปรัชญาเพื่อชี้ให้เห็นถึงการตัดกิเลสด้วยวิธีการปิดช่องทางเข้าของกิเลสทั้งหลาย
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
[แก้]
ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายพระรามหก ตำบลห้วยทรายเหนือ ตรงหลักกิโลเมตรที่ 216 เลยหาดชะอำมา 8 กิโลเมตร เป็นพระตำหนักที่ประทับริมทะเล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2466 ได้รับขนานนามว่า “พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง” พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันพุธ ค่าเข้าชม ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท