Category Archives: อำเภอโพธิ์ทอง

อำเภอโพธิ์ทอง

อำเภอโพธิ์ทอง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง

ประวัติ

อำเภอโพธิ์ทอง ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอเมื่อปีพ.ศ. 2439 มีชื่อว่า อำเภอห้วยลิงตก ตามชื่อตำบลซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ ได้ย้ายมาอยู่ที่หมู่ 9 ตำบลคลองสาหร่าย ฝั่งซ้ายของแม่น้ำน้อย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อำเภอโพธิ์ทอง และปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการให้ใช้ชื่อ “อำเภอโพธิ์ทอง”[1] ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา

ต่อมาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอกลับมาตั้งยังที่เดิม คือที่ตำบลห้วยลิงตก หรืออ่างแก้วในปัจจุบัน อาคารที่ว่าการอำเภอปัจจุบันสร้างเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2517 เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากพระเทพสังวรญาณ เจ้าอาวาสวัดศีลขันธาราม ซึ่งได้ซิ้อที่ดินจำนวนกว่า 15 ไร่ มอบให้แก่ทางราชการสำหรับใช้เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ

  • วันที่ 9 สิงหาคม 2479 โอนพื้นที่ตำบลศาลาดิน และตำบลม่วงเตี้ย อำเภอโพธิ์ทอง มาขึ้นกับอำเภอวิเศษไชยชาญ[2]
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสุพรรณบุรี (ก,ข,ค,ง)[3]
    • (ก) โอนพื้นที่ตำบลดอนปรู อำเภอวิเศษไชยชาญ ไปขึ้นกับอำเภอศรีประจันต์
    • (ข) โอนพื้นที่หมู่ 1,11 (ในตอนนั้น) จากตำบลศาลาทุ่งแฝก อำเภอโพธิ์ทอง ไปขึ้นกับตำบลเขาดิน อำเภอเดิมบางนางบวช
    • (ค) โอนพื้นที่หมู่ 2-5 (ในตอนนั้น) จากตำบลศาลาทุ่งแฝก อำเภอโพธิ์ทอง ไปขึ้นกับตำบลวังลึก อำเภอสามชุก
    • (ง) โอนพื้นที่หมู่ 6-10 (ในตอนนั้น) จากตำบลศาลาทุ่งแฝก อำเภอโพธิ์ทอง ไปขึ้นกับตำบลดอนปรู ซึ่งอำเภอวิเศษไชยชาญ ได้โอนไปขึ้นกับอำเภอศรีประจันต์ ตามหมายอักษร ก.นั้น
  • วันที่ 26 เมษายน 2480 ยุบตำบลศาลาทุ่งแฝก รวมเข้ากับท้องที่ตำบลแสวงหา[4]
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2481 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพธิ์ทอง (1-14)[5][6] จังหวัดอ่างทอง
    • (1) โอนพื้นที่หมู่ 1-2, 8-10 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านแก ไปขึ้นกับตำบลหนองแม่ไก่
    • (2) โอนพื้นที่หมู่ 3-7, 11 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านแก ไปขึ้นกับตำบลบ้านพราน
    • (3) โอนพื้นที่หมู่ 14 (ในขณะนั้น) ของตำบลรำมะสัก ไปขึ้นกับตำบลยางช้าย
    • (4) โอนพื้นที่หมู่ 1-13, 20 (ในขณะนั้น) ของตำบลรำมะสัก ไปขึ้นกับตำบลแสวงหา
    • (5) แยกพื้นที่หมู่ 14-19, 21-24 (ในขณะนั้น) ตำบลแสวงหา และหมู่ 16-17 (ในขณะนั้น) ตำบลรำมะสัก ตั้งเป็นตำบลสีบัวทอง
    • (6) โอนพื้นที่หมู่ 1-15, 18 (ในขณะนั้น) ของตำบลแสวงหา ไปขึ้นกับตำบลรำมะสัก
    • (7) รวมตำบลโพธิ์ทอง เข้ากับตำบลคำหยาด ขนานนามว่า ตำบลคำหยาด
    • (8) โอนพื้นที่หมู่ 1-6 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านตาล ไปขึ้นกับตำบลทางพระ
    • (9) โอนพื้นที่หมู่ 7-10 (ในขณะนั้น) ของตำบลบ้านตาล ไปขึ้นกับตำบลโคกพุทรา
    • (10) โอนพื้นที่หมู่ 2, 6-7, 10-11 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางพลับ ไปขึ้นกับตำบลห้วยลิงออก
    • (11) โอนพื้นที่หมู่ 1-6 (ในขณะนั้น) ของตำบลโพธิ์เกรียบ ไปขึ้นกับตำบลสามง่าม
    • (12) โอนพื้นที่หมู่ 7-11 (ในขณะนั้น) ของตำบลโพธิ์เกรียบ ไปขึ้นกับตำบลบางพลับ
    • (13) โอนพื้นที่หมู่ 1-4 (ในขณะนั้น) ของตำบลห้วยลิงตก ไปขึ้นกับตำบลคลองสาหร่าย
    • (14) โอนพื้นที่หมู่ 5-8 (ในขณะนั้น) ของตำบลห้วยลิงตก ไปขึ้นกับตำบลบางเจ้าฉ่า
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลจำลอง แยกออกจากตำบลห้วยไผ่ ตั้งตำบลสามง่าม แยกออกจากตำบลโพธิ์รังนก ตั้งตำบลบางระกำ แยกออกจากตำบลบางเจ้าฉ่า ตั้งตำบลบ่อแร่ แยกออกจากตำบลอ่างแก้ว ตั้งตำบลบางพลับ แยกออกจากตำบลอินทประมูล[7]
  • วันที่ 9 ธันวาคม 2490 แยกพื้นที่ตำบลแสวงหา ตำบลศรีบัวทอง ตำบลบ้านพราน ตำบลห้วยไผ่ และตำบลจำลอง อำเภอโพธิ์ทอง มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอแสวงหา[8] ขึ้นกับอำเภอโพธิ์ทอง
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2491 โอนพื้นที่หมู่ 8,13,14 (ในขณะนั้น) จากตำบลรำมะสัก อำเภอโพธิ์ทอง ไปขึ้นกับตำบลสีบัวทอง กิ่งอำเภอแสวงหา อำเภอโพธิ์ทอง[9]
  • วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ยกฐานะกิ่งอำเภอแสวงหา อำเภอโพธิ์ทอง เป็น อำเภอแสวงหา[10]
  • วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลโพธิ์ทอง ในท้องที่บางส่วนของอ่างแก้ว ตำบลอินทประมูล และตำบลบางพลับ[11]
  • วันที่ 30 กันยายน 2535 จัดตั้งสุขาภิบาลรำมะสัก ในท้องที่บางส่วนของตำบลรำมะสัก[12]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลโพธิ์ทอง และสุขาภิบาลรำมะสัก เป็นเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง และเทศบาลตำบลรำมะสัก[13] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลสามง่าม และสภาตำบลบ่อแร่ รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลอ่างแก้ว ยุบสภาตำบลโพธิ์รังนก รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางพลับ[14]
  • วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เปลี่ยนแปลงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลรำมะสัก เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงคัน และจัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลม่วงคัน[15]

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอโพธิ์ทองแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล 110 หมู่บ้าน

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[16]
1. อ่างแก้ว Ang Kaeo
7
3,563
2. อินทประมูล Inthapramun
7
3,669
3. บางพลับ Bang Phlap
6
3,617
4. หนองแม่ไก่ Nong Mae Kai
7
2,918
5. รำมะสัก Ram Ma Sak
12
8,064
6. บางระกำ Bang Rakam
7
2,272
7. โพธิ์รังนก Pho Rang Nok
3
1,654
8. องครักษ์ Ongkharak
8
4,857
9. โคกพุทรา Khok Phutsa
7
2,674
10. ยางช้าย Yang Chai
10
5,821
11. บ่อแร่ Bo Rae
4
1,629
12. ทางพระ Thang Phra
8
2,616
13. สามง่าม Sam Ngam
6
1,881
14. บางเจ้าฉ่า Bang Chao Cha
8
3,224
15. คำหยาด Kham Yat
9
3,171

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอโพธิ์ทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลโพธิ์ทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ่างแก้ว (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 3–7) ตำบลอินทประมูล (เฉพาะหมู่ที่ 4 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 5–7) ตำบลบางพลับ (เฉพาะหมู่ที่ 2 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3) และตำบลบางเจ้าฉ่า (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1)
  • เทศบาลตำบลรำมะสัก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลรำมะสัก
  • เทศบาลตำบลโคกพุทรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกพุทราทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลทางพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทางพระทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลม่วงคัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลรำมะสัก (นอกเขตเทศบาลตำบลรำมะสัก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอ่างแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสามง่ามและตำบลบ่อแร่ทั้งตำบล และตำบลอ่างแก้ว (นอกเขตเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอินทประมูล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอินทประมูล (นอกเขตเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพลับ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์รังนกทั้งตำบลและตำบลบางพลับ (นอกเขตเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแม่ไก่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแม่ไก่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางระกำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางระกำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลองครักษ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางช้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางช้ายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางเจ้าฉ่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเจ้าฉ่า (นอกเขตเทศบาลตำบลโพธิ์ทอง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคำหยาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำหยาดทั้งตำบล
Call Now Button