Category Archives: อำเภอวิเศษชัยชาญ
อำเภอวิเศษชัยชาญ
อำเภอวิเศษชัยชาญ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง เดิมชื่อ อำเภอวิเศษไชยชาญ และก่อนหน้านั้น ชื่อ อำเภอไผ่จำศีล
ประวัติศาสตร์
[แก้]
เมืองวิเศษไชยชาญ นี้สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นราว พ.ศ. 2122–2127 โดยในพระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงชื่อเมืองนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2127 ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จยาตราทัพขึ้นไปประชุมพลที่ป่าโมก แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ เพื่อรับศึกพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณบุรี และกล่าวถึงอีกตอนในสงครามคราวเดียวกัน เมื่อทัพกรุงศรีอยุธยาตีกองทัพพระยาพะสิมแตกพ่ายไปแล้ว ทั้งสองพระองค์เสด็จยกกองทัพไปตั้งอยู่ที่บ้านชะไว แขวงเมืองวิเศษไชยชาญ เพื่อสกัดทัพพระเจ้าเชียงใหม่ที่จะยกลงมาจากทางเหนือ
ที่ตั้งของเมืองวิเศษไชยชาญในสมัยนั้นอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน้อย มีโคกใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่า “บ้านจวน” ซึ่งเข้าใจว่าคงเป็นที่ตั้งของจวนผู้ว่าราชการเมือง อยู่ใกล้วัดขุมทอง ตำบลไผ่จำศิลในปัจจุบัน ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แม่น้ำน้อยตื้นเขินเป็นตอน ๆ การเดินทางทางเรือไม่สะดวก ทางราชการจึงย้ายเมืองวิเศษไชยชาญไปตั้งที่ตำบลบางแก้ว ริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดอ่างทองในปัจจุบัน) พร้อมเปลี่ยนชื่อเรียกว่า “เมืองอ่างทอง” ส่วนแขวงเมืองวิเศษไชยชาญถูกลดฐานะเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอไผ่จำศิล ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองอ่างทองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2439 โดยตั้งที่ว่าการอำเภอทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลไผ่จำศิล
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2451 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ามีพระบรมราชานุญาต ให้เปลี่ยนชื่ออำเภอไผ่จำศิล เป็น อำเภอวิเศษไชยชาญ และปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการให้ใช้ชื่อ “อำเภอวิเศษไชยชาญ” ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา 2 ครั้ง[1],[2] และราชการก็ใช้ชื่อ อำเภอวิเศษไชยชาญ หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2510 ทางราชการได้กำหนดการเขียนชื่อจังหวัด อำเภอ และกิ่งอำเภอ เพื่อให้เขียนเป็นแบบเดียวกัน โดยได้เปลี่ยนการสะกดเป็น “อำเภอวิเศษชัยชาญ“[3][4] อย่างเป็นทางการ
เมื่อปี พ.ศ. 2522 กรมการปกครอง ได้มีคำสั่งย้ายที่ว่าการอำเภอวิเศษชัยชาญไปตั้งอยู่ริมถนนโพธิ์พระยา-ท่าเรือ หมู่ที่ 7 ตำบลศาลเจ้าโรงทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอหลังปัจจุบัน
- วันที่ 18 ตุลาคม 2451 เปลี่ยนชื่ออำเภอไผ่จำศิล จังหวัดอ่างทอง เป็น อำเภอวิเศษไชยชาญ[1]
- วันที่ 9 สิงหาคม 2479 โอนพื้นที่ตำบลศาลาดิน และตำบลม่วงเตี้ย อำเภอโพธิ์ทอง มาขึ้นกับอำเภอวิเศษไชยชาญ[5]
- วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสุพรรณบุรี โดยโอนพื้นที่ตำบลดอนปรู อำเภอวิเศษไชยชาญ จังหวัดอ่างทอง ไปขึ้นกับอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี[6]
- วันที่ 16 มกราคม 2481 ยุบตำบลไผ่ดำ อำเภอป่าโมก และโอนท้องที่ที่ยุบมาขึ้นกับตำบลบางจัก อำเภอวิเศษไชยชาญ[7]
- วันที่ 26 ธันวาคม 2481 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษไชยชาญ โดยโอนพื้นที่ตำบลไผ่ดำ อำเภอป่าโมก มาขึ้นกับ อำเภอวิเศษไชยชาญ และเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวิเศษไชยชาญ (1,2,3,4,5,6,7,8)[8][9] จังหวัดอ่างทอง
- (1) รวมตำบลโพธิ์เขียว เข้ากับตำบลศาลเจ้าโรงทอง และขนานนามว่า ตำบลศาลเจ้าโรงทอง
- (2) รวมตำบลศาลาดิน เข้ากับตำบลม่วงเตี้ย และขนานนามว่า ตำบลม่วงเตี้ย
- (3) รวมตำบลตลาดใหม่ เข้ากับตำบลห้วยคันแหลน และขนานนามว่า ตำบลห้วยคันแหลน
- (4) โอนพื้นที่หมู่ 13 (ในขณะนั้น) ของตำบลสามโก้ ไปขึ้นกับตำบลยี่ล้น
- (5) โอนพื้นที่หมู่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลยี่ล้น ไปขึ้นกับตำบลอบทม
- (6) โอนพื้นที่หมู่ 7 (ในขณะนั้น) ของตำบลอบทม ไปขึ้นกับตำบลสาวร้องไห้
- (7) โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลสาวร้องไห้ ไปขึ้นกับตำบลไผ่วง
- (8) โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางจัก ไปขึ้นกับตำบลหลักแก้ว
- วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลศาลเจ้าโรงทอง ในท้องที่บางส่วนของตำบลไผ่จำศิล และตำบลศาลเจ้าโรงทอง[10]
- วันที่ 2 ตุลาคม 2505 แยกพื้นที่ตำบลอบทม และตำบลสามโก้ อำเภอวิเศษไชยชาญ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอสามโก้[11] ขึ้นกับอำเภอวิเศษไชยชาญ
- วันที่ 21 พฤษภาคม 2506 โอนพื้นที่หมู่ 1,2 (ในขณะนั้น) ของตำบลอบทม กิ่งอำเภอสามโก้ อำเภอวิเศษไชยชาญ ไปขึ้นกับตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษไชยชาญ[12]
- วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 ยกฐานะกิ่งอำเภอสามโก้ อำเภอวิเศษไชยชาญ เป็น อำเภอสามโก้[13]
- วันที่ 30 พฤศจิกายน 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลบางจัก ในท้องที่บางส่วนของตำบลสี่ร้อย ตำบลหัวตะพาน ตำบลคลองขนาก และตำบลบางจัก[14]
- วันที่ 17 ตุลาคม 2515 ตั้งตำบลไผ่ดำพัฒนา แยกออกจากตำบลหัวตะพาน และตำบลบางจัก[15]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2525 ตั้งตำบลตลาดใหม่ แยกออกจากตำบลห้วยคันแหลน[16]
- วันที่ 10 กรกฎาคม 2533 โอนพื้นที่หมู่ 2 บ้านท้ายลาด (ในขณะนั้น) ของตำบลไผ่ดำพัฒนา ไปตั้งเป็นหมู่ 7 ของตำบลหัวตะพาน และกำหนดเขตให้ตำบลไผ่ดำพัฒนามีการปกครอง 7 หมู่บ้าน ส่วนตำบลหัวตะพานกำหนดเขตให้มีการปกครอง 7 หมู่บ้าน[17]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลศาลเจ้าโรงทอง และสุขาภิบาลบางจัก เป็นเทศบาลตำบลศาลเจ้าโรงทอง และเทศบาลตำบลบางจัก[18] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลสี่ร้อย รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง[19]
- วันที่ 17 ธันวาคม 2553 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ เป็น เทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ[20]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
อำเภอวิเศษชัยชาญตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสามโก้และอำเภอโพธิ์ทอง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอป่าโมก
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอผักไห่ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสุพรรณบุรีและอำเภอศรีประจันต์ (จังหวัดสุพรรณบุรี)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]
อำเภอวิเศษชัยชาญแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 ตำบล 126 หมู่บ้าน
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[21] |
---|---|---|---|---|
1. | ไผ่จำศิล | Phai Cham Sin |
8
|
5,434
|
2. | ศาลเจ้าโรงทอง | San Chao Rong Thong |
12
|
7,173
|
3. | ไผ่ดำพัฒนา | Phai Dam Phatthana |
8
|
3,242
|
4. | สาวร้องไห้ | Sao Rong Hai |
8
|
4,342
|
5. | ท่าช้าง | Tha Chang |
6
|
3,910
|
6. | ยี่ล้น | Yi Lon |
9
|
4,187
|
7. | บางจัก | Bang Chak |
14
|
6,127
|
8. | ห้วยคันแหลน | Huai Khan Laen |
6
|
3,246
|
9. | คลองขนาก | Khlong Khanak |
9
|
3,797
|
10. | ไผ่วง | Phai Wong |
7
|
3,065
|
11. | สี่ร้อย | Si Roi |
7
|
3,375
|
12. | ม่วงเตี้ย | Muang Tia |
12
|
5,614
|
13. | หัวตะพาน | Hua Taphan |
7
|
3,010
|
14. | หลักแก้ว | Lak Kaeo |
8
|
5,076
|
15. | ตลาดใหม่ | Talat Mai |
5
|
2,074
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]
ท้องที่อำเภอวิเศษชัยชาญประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลไผ่จำศิลและตำบลศาลเจ้าโรงทอง
- เทศบาลตำบลบางจัก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางจัก ตำบลคลองขนาก และตำบลสี่ร้อย
- เทศบาลตำบลห้วยคันแหลน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยคันแหลนทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลท่าช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าช้างทั้งตำบลและตำบลสี่ร้อย (นอกเขตเทศบาลตำบลบางจัก)
- เทศบาลตำบลไผ่ดำพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ดำพัฒนาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลสาวร้องไห้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสาวร้องไห้ทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลม่วงเตี้ย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงเตี้ยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่จำศีล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่จำศิล (นอกเขตเทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลศาลเจ้าโรงทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลเจ้าโรงทอง (นอกเขตเทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลยี่ล้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยี่ล้นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางจัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางจัก (นอกเขตเทศบาลตำบลบางจัก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขนาก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองขนาก (นอกเขตเทศบาลตำบลบางจัก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่วงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวตะพาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวตะพาน (นอกเขตเทศบาลตำบลบางจัก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหลักแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหลักแก้วทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตลาดใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดใหม่ทั้งตำบล
สภาพภูมิอากาศ
[แก้]
มีลักษณะเป็นแบบมรสุม 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว
ทรัพยากรธรรมชาติ
[แก้]
แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำน้อยและคลองขุน
เศรษฐกิจ
[แก้]
ประชาชนในพื้นที่อำเภอวิเศษชัยชาญส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน ทำไร่ ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ คือ ข้าว มะม่วง และผักสวนครัว และมีอาชีพเสริม ได้แก่ เลี้ยงสัตว์ จักสาน