Category Archives: จังหวัดสุโขทัย
จังหวัดสุโขทัย
จังหวัดสุโขทัย สุโขทัย (เดิมสะกดว่า ศุโขไทย)[3] เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนหรือบางแห่งแบ่งเป็นภาคเหนือตอนล่าง ของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และลำปาง (เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ) มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม เป็นที่ตั้งอาณาจักรแรกของชนชาติไทยเมื่อกว่า 700 ปีที่ผ่านมา คำว่า “สุโขทัย” มาจากคำสองคำคือ “สุข+อุทัย” มีความหมายว่า “รุ่งอรุณแห่งความสุข “
ประวัติศาสตร์[แก้]
สมัยราชธานีสุโขทัยและอยุธยา[แก้]
ในอดีต สุโขทัยเป็นรัฐหนึ่งที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ ต่อมาเมื่อจักรวรรดิขแมร์และอาณาจักรพุกามเสื่อมอำนาจ ทำให้เกิดรัฐใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาไล่เลี่ยกัน ราวปี 1782 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมืองได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพงเป็นผลสำเร็จ และได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย โดยพ่อขุนบางกลางหาวราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สุโขทัยพระองค์แรกของอาณาจักรสุโขทัย[4] หลังจากประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายในและการแทรกแซงจากอยุธยา ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด [4][5]
ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สุโขทัยถูกกำหนดให้เป็นหัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร มีการกำหนดเป็นเมืองเอก โท หรือตรี ตามลำดับความสำคัญ ภายหลังการเสียกรุงครั้งที่หนึ่ง และหลังประกาศอิสรภาพ และหลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวหัวเมืองเหนือทั้งปวง (เมืองพระพิษณุโลกสองแคว เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิจิตร และเมืองพระบาง) ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ ผ่านไป 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ และเปลี่ยนสุโขทัยจากหัวเมืองชั้นนอก เป็นหัวเมืองชั้นโท คือเมืองพระยามหานครที่มีความสำคัญรองลงมา มีอยู่ 6 หัวเมือง ทางเหนือมีสวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ เพื่อรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง[6][7]
สมัยรัตนโกสินทร์[แก้]
สุโขทัยยังคงมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นโท จนกระทั่งยุครัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ. 2437 ทรงกำหนดให้เทศาภิบาลขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย ยกเลิกระบบกินเมือง และระบบหัวเมืองแบบเก่า และจัดเป็นมณฑล เมือง อำเภอ หมู่บ้าน ทำให้สุโขทัยมีฐานะเป็น เมืองสุโขทัย ภายใต้การจัดการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคของ มณฑลพิษณุโลก [8][9]
หลังปี พ.ศ. 2459 คำว่า “จังหวัด” ได้กลายเป็นคำที่เรียกหน่วยการปกครองระดับต่ำกว่ามณฑลแทนคำว่า “เมือง” เพื่อแยกความกำกวมจากคำว่าเมืองที่ใช้เรียกที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด (อำเภอเมือง) ทำให้ “เมืองสุโขทัย” ได้เปลี่ยนเป็น “จังหวัดสุโขทัย”[10]
ปี พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการ ยุบเลิกบางมณฑลและบางจังหวัด โดย จังหวัดสุโขทัย ถูกยุบเลิกและโอน อำเภอสุโขทัยธานี อำเภอบ้านไกร อำเภอคลองตาล กิ่งอำเภอลานหอย กิ่งอำเภอโตนด มาขึ้นการปกครอง จังหวัดสวรรคโลก [11][12]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476 ขึ้น ทำให้ จังหวัด กลายเป็นเขตการปกครองย่อยของประเทศไทยที่มีระดับสูงที่สุด[13]
ปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนแปลงชื่อจังหวัดสวรรคโลก เป็นจังหวัดสุโขทัย และ สุโขทัยก็มีสถานะเป็น จังหวัดสุโขทัย นับแต่นั้นเป็นต้นมา[11]
ภูมิศาสตร์[แก้]
ตามการแบ่งจังหวัดเป็นภาคโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติและราชบัณฑิตยสภา จังหวัดสุโขทัยตั้งอยู่ในภาคกลาง บริเวณตอนบนของภาค หากแบ่งเขตตามการพยากรณ์อากาศและเศรษฐกิจ สังคม จะจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครตามระยะทางหลวงแผ่นดินประมาณ 440 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวังชิ้น อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ อำเภอลับแล และอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก และอำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพรานกระต่าย อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองตาก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก และอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
ภูมิประเทศ[แก้]
พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดสุโขทัยจะเป็นที่ราบลุ่ม ทางตอนเหนือและตอนใต้ของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีเขาหลวงเป็นภูเขาที่มีความสูงที่สุด วัดจากระดับน้ำทะเลมีความสูงประมาณ 1,200 เมตร โดยมีแนวภูเขายาวเป็นพืดทางด้านทิศตะวันตก ส่วนพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดจะเป็นที่ราบ มีแม่น้ำยมไหลผ่านจากทิศเหนือจรดทิศใต้ ผ่านอำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสำโรง อำเภอเมืองสุโขทัย และอำเภอกงไกรลาศ ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดสุโขทัยยาวประมาณ 170 กิโลเมตร[14]
ภูมิอากาศ[แก้]
จังหวัดสุโขทัยตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งลึกเข้ามาในแผ่นดิน จึงมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง เกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27.9 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อนอากาศร้อนอบอ้าว อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33.8 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนที่สุดอยู่ในเดือนเมษายน ซึ่งเคยตรวจอุณหภูมิสูงที่สุดได้ 44.5 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2559 ส่วนในฤดูหนาวอากาศมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23.0 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศหนาวที่สุดอยู่ในเดือนมกราคม ซึ่งเคยตรวจอุณหภูมิต่ำที่สุดได้ 5.5 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2517[15][16]
ข้อมูลภูมิอากาศของสุโขทัย | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °F | 88.9 | 92.1 | 96.1 | 100.2 | 94.8 | 92.8 | 91.8 | 91.2 | 90.9 | 91 | 89.4 | 87.8 | 92.26 |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °F | 64.8 | 68 | 72.1 | 76.5 | 76.5 | 76.8 | 76.6 | 76.1 | 75.7 | 75.2 | 70.3 | 65.8 | 72.88 |
ปริมาณฝน นิ้ว | 0.461 | 0.272 | 0.654 | 2.689 | 6.232 | 8.319 | 5.807 | 6.906 | 11.547 | 7.591 | 0.24 | 0.374 | 51.087 |
Average high °C | 31.6 | 33.4 | 35.6 | 37.9 | 34.9 | 33.8 | 33.2 | 32.9 | 32.7 | 32.8 | 31.9 | 31.0 | 33.48 |
Average low °C | 18.2 | 20.0 | 22.3 | 24.7 | 24.7 | 24.9 | 24.8 | 24.5 | 24.3 | 24.0 | 21.3 | 18.8 | 22.71 |
Rainfall cm | 1.17 | 0.69 | 1.66 | 6.83 | 15.83 | 21.13 | 14.75 | 17.54 | 29.33 | 19.28 | 0.6 | 0.95 | 129.76 |
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา. “ค่ามาตรฐาน 30 ปีของสุโขทัย (1981-2010)” https://www.tmd.go.th/weather/province/last30years-1981-2010/sukhothai/10/373201 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
- ตราประจำจังหวัด: รูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับบนพระแท่นมนังคศิลาอาสน์
- ธงประจำจังหวัด: ธงพื้นสีแดง-เหลือง-เขียว แบ่งตามแนวนอน แถบสีเหลืองนั้นกว้างเป็น 2 เท่าของแถบสีแดงและสีเขียว ที่มุมธงด้านคันธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับบนพระแท่นมนังคศิลาอาสน์
- คำขวัญประจำจังหวัด: มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าตีนจก สังคโลกทองโบราณ สักการแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: ตาล (Borassus flabellifer)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวหลวง (Nelumbo nucifera)
-
ธงประจำจังหวัดสุโขทัย
-
ตราประจำจังหวัดสุโขทัย
-
ต้นตาล ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัย
-
ดอกบัวหลวง ดอกไม้ประจำจังหวัดสุโขทัย
-
ตราผ้าผูกคอลูกเสือประจำจังหวัดสุโขทัย
การเมืองการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
การปกครองของสุโขทัยแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ, 86 ตำบล, 843 หมู่บ้าน

ลำดับที่ | ชื่ออำเภอ | แผนที่ | พื้นที่ (ตร.กม) |
ประชากร (คน)[17] |
จำนวน ตำบล |
จำนวน หมู่บ้าน |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | เมืองสุโขทัย |
![]() |
581.474 | 101,546 | 10 | 97 |
2. | บ้านด่านลานหอย |
![]() |
1,018.11 | 47,785 | 7 | 71 |
3. | คีรีมาศ |
![]() |
521.9 | 55,954 | 10 | 100 |
4. | กงไกรลาศ |
![]() |
502.382 | 62,888 | 11 | 109 |
5. | ศรีสัชนาลัย |
![]() |
2,050.511 | 90,706 | 11 | 148 |
6. | ศรีสำโรง |
![]() |
565.731 | 68,096 | 13 | 118 |
7. | สวรรคโลก |
![]() |
586.192 | 80,244 | 14 | 117 |
8. | ศรีนคร |
<img class="mw-file-element" src="https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d7/Amphoe_6408.svg/40px-Amphoe_6408.svg.png" srcset="//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d7/Amphoe_6408.svg/60px-Amphoe_6408.svg.png 1.5x, //upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d7/Amphoe_6408.svg/80px-Amphoe_6408.svg.png 2x" width="40" height="52" data-file-width="1659" data-file-height="2
เข้าสู่ระบบ |