Category Archives: อำเภอมวกเหล็ก
อำเภอมวกเหล็ก
อำเภอมวกเหล็ก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสระบุรี แต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอแก่งคอย
ประวัติศาสตร์
[แก้]
ในอดีตอำเภอมวกเหล็กเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอแก่งคอย กระทรวงมหาดไทยเห็นควรในการแบ่งเขตการปกครองของอำเภอแก่งคอยออกมาเป็น อำเภอมวกเหล็ก โดยรวมพื้นที่ตำบลมวกเหล็ก ตำบลคำพราน และตำบลแสลงพัน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2511 โดยไม่ผ่านการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ[1] ที่มาของชื่ออำเภอมวกเหล็กมีอยู่สองความคิด ความคิดแรกมวกเหล็กเป็นชื่อของเถาไม้ชนิดหนึ่งที่ ขึ้นอยู่ทั่วไปริมลำธารแห่งนี้ จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า มวกเหล็ก ความคิดหนึ่งเล่าว่าเคยพบหมวกเหล็กของนักรบโบราณที่ลำธารแห่งมวกเหล็กนี้ จึงเรียกว่า บ้านหมวกเหล็ก ต่อมาคนที่นี่เรียกเป็น มวกเหล็ก[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง และอำเภอลำสนธิ (จังหวัดลพบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสีคิ้วและอำเภอปากช่อง (จังหวัดนครราชสีมา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองนครนายก (จังหวัดนครนายก)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแก่งคอยและอำเภอวังม่วง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]
อำเภอมวกเหล็กแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 80 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | ภาษาไทย | ภาษาอังกฤษ | จำนวนหมู่บ้าน |
---|---|---|---|
1. | มวกเหล็ก | Muak Lek | 13 หมู่บ้าน |
2. | มิตรภาพ | Mittraphap | 10 หมู่บ้าน |
3. | หนองย่างเสือ | Nong Yang Suea | 14 หมู่บ้าน |
4. | ลำสมพุง | Lam Somphung | 10 หมู่บ้าน |
5. | ลำพญากลาง | Lam Phaya Klang | 18 หมู่บ้าน |
6. | ซับสนุ่น | Sap Sanun | 15 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]
ท้องที่อำเภอมวกเหล็กประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลมวกเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลมวกเหล็กและตำบลมิตรภาพ
- องค์การบริหารส่วนตำบลมวกเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมวกเหล็ก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลมวกเหล็ก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมิตรภาพ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลมวกเหล็ก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างเสือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองย่างเสือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำสมพุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำสมพุงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำพญากลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำพญากลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลซับสนุ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซับสนุ่นทั้งตำบล
การคมนาคม
[แก้]
เส้นทางที่น่าสนใจ ได้แก่
- อุโมงค์ต้นไม้ บนเส้นทางมวกเหล็ก-วังม่วง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089
- เนินพิศวง บนเส้นทางสายมวกเหล็ก-ซับน้อยเหนือ หากจอดรถเข้าเกียร์ว่าง จะเกิดภาพลวงตามองเห็นรถเคลื่อนที่จากที่ต่ำไปยังที่สูง
เส้นทางรถไฟที่ผ่านมวกเหล็ก มี 3 สถานี
1. | สถานีรถไฟมวกเหล็ก (สถานีหลัก) | ||
2. | สถานีรถไฟผาเสด็จ | ||
3. | สถานีรถไฟหินลับ |
ทางรถยนต์
[แก้]
มีทางหลวงหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) และมีถนนเส้นหลัก 10 สาย ได้แก่
1. | สายมวกเหล็ก–วังม่วง | ||
2. | สายมวกเหล็ก–ซับน้อยเหนือ | ||
3. | สายซับประดู่–บ้านท่าเสา | ||
4. | สายแก่งคอย–วังม่วง | ||
5. | สายเขาไม้เกวียน–หลังสถานีรถไฟ | ||
6. | สายหมู่ 3 – บ้านมอมะเกลือ | ||
7. | สายซับตาเพ็ง | ||
8. | สายบ้านปากคลอง–บ้านดงน้ำฉ่า | ||
9. | สายหมู่ 4 – หมู่ 7 | ||
10. | สายสถานีอนามัย–บ้านหินลับ |
รถประจำทาง จำนวน 3 สาย ได้แก่
- สายกรุงเทพฯ (จตุจักร) – มวกเหล็ก
- สายมวกเหล็ก – วังม่วง
- สายสระบุรี – มวกเหล็ก – น้ำตกเจ็ดสาวน้อย
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]
- ไร่องุ่น ตั้งอยู่ริมสองข้างทาง เส้นทางมวกเหล็ก-วังม่วง
- น้ำตกเจ็ดสาวน้อย เป็นน้ำตกที่มีถึงเจ็ดชั้น ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
- สวนรุกขชาติมวกเหล็กและน้ำตกมวกเหล็ก
- ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค[3] เป็นหนึ่งในฟาร์มโคนมที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นสำนักงานใหญ่ของ อ.ส.ค.[4] เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งแรกๆของประเทศไทย มีกิจกรรมเช่น ปั่นเรือปั่น ฝึกรีดนมวัวโดยการสอนของเจ้าหน้าที่ ป้อนนมลูกวัว โชว์จับวัวด้วยเชือก และมีการทัวร์ทั่วฟาร์ม ที่มีฉากหลังเป็นภูเขา และท้องฟ้า บรรยากาศที่สดชื่น มีลานหญ้ากว้างขนาดใหญ่ และจุดจอดเฮลิคอปเตอร์สำหรับการเดินทางมาเยือนด้วยเฮลิคอปเตอร์ บริเวณนี้เป็นที่นิยมถ่ายรูปกันเป็นอย่างมาก
เทศกาล
[แก้]
- เทศกาลศาลเจ้าพ่อมวกเหล็ก เป็นการแห่เฉลิมฉลองแด่ศาลเจ้าพ่อมวกเหล็กของมวกเหล็ก ในยามค่ำคืนจะเป็นงานเทศกาลออกร้านของกิน เครื่องเล่น และมีการแสดงเช่น งิ้ว ลิเก มีขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาของทุกปี
- เทศกาลวันโคนมแห่งชาติ เป็นการเฉลิมฉลองการเกิดขึ้นของโคนมไทย จัดขึ้นในช่วงครึ่งเดือนมกราคมของทุกปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จมาเปิดงาน ภายในเทศกาลจะมีเครื่องเล่น ของกิน และการออกร้านของเจ้าของผลิตภัณฑ์นมต่าง ๆ
- เทศกาลทุ่งดอกทานตะวัน เทศกาลปลูกทุ่งทานตะวันสีเหลืองสุดสายตา กับฉากหลังเป็นภูเขาปลูกขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ของทุกปี
- เทศกาลถือศีลกินผัก มวกเหล็กมีคนไทยเชื้อสายจีนอยู่ และมีศาลเจ้าพ่อมวกเหล็ก เมื่อถึงเทศกาลกินเจ จะมีการจัดซุ้มอาหารตามจุดต่าง ๆ ทั่วเมือง จัดขึ้นในทุกวันตรุษจีน เพื่อความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตาแก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์ทุกชนิด จนถึงธรรมชาติ
การศึกษา
[แก้]
สถาบันการศึกษาของรัฐบาล
[แก้]
- โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา
- โรงเรียนอนุบาลมวกเหล็ก
- โรงเรียนซับน้อยเหนือวิทยาคม
- โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช[8]
การศึกษาโดยเอกชน
[แก้]