Category Archives: อำเภอท่าเรือ
อำเภอท่าเรือ
อำเภอท่าเรือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอนครน้อย ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน[1]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
อำเภอท่าเรือตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอดอนพุดและอำเภอบ้านหมอ (จังหวัดสระบุรี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเสาไห้และอำเภอหนองแซง (จังหวัดสระบุรี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอภาชี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอนครหลวง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]
อำเภอท่าเรือแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 84 หมู่บ้าน
1. | ท่าเรือ | (Tha Ruea) | – | 6. | วังแดง | (Wang Daeng) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||||||
2. | จำปา | (Champa) | 9 หมู่บ้าน | 7. | โพธิ์เอน | (Pho En) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||||||
3. | ท่าหลวง | (Tha Luang) | 10 หมู่บ้าน | 8. | ปากท่า | (Pak Tha) | 8 หมู่บ้าน | ||||||||||||
4. | บ้านร่อม | (Ban Rom) | 9 หมู่บ้าน | 9. | หนองขนาก | (Nong Khanak) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||||||
5. | ศาลาลอย | (Sala Loi) | 15 หมู่บ้าน | 10. | ท่าเจ้าสนุก | (Tha Chao Sanuk) | 9 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]
ท้องที่อำเภอท่าเรือประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลท่าเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเรือทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลท่าหลวง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลจำปาและตำบลท่าหลวง
- องค์การบริหารส่วนตำบลจำปา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจำปา (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าหลวง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหลวง (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าหลวง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร่อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านร่อมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลศาลาลอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลาลอยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังแดงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์เอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์เอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากท่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากท่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขนากครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขนากทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเจ้าสนุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเจ้าสนุกทั้งตำบล
เศรษฐกิจ
[แก้]
อำเภอท่าเรือแต่เดิมเป็นเขตเกษตรกรรมมีการเพาะปลูกข้าวและการเพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาจากสายน้ำแห่งแม่น้ำป่าสัก มีเขื่อนพระราม 6 ซึ่งเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]
อำเภอท่าเรือมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจและเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้แก่
- เขื่อนพระราม 6 เป็นเขื่อนทดน้ำเพื่อการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย
- วัดสะตือ พุทธไสยาสน์ ซึ่งเป็นสถานที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เกิดในเรือซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดแห่งนี้ จึงได้มีการอัญเชิญพระพุทธรูปของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ประดิษฐานปางไสยาสน์อยู่ในวัดแห่งนี้
- วัดบึงลัฏฐิวัล เป็นวัดสายปฏิบัติธรรม มีพระธาตุเจดีย์ศรีอยุธยาสัมมาสัมโพธิญาณ และมีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม
- วัดหนองแห้ว วัดตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลท่าเรือมีพระองค์ใหญ่ไม่มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ โดยชาวบ้านเรียกว่า’หลวงพ่อใหญ่’ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเป็นที่เคารพและนับถือของชาวบ้าน
- วัดไม้รวก วัดนี้สร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 มีภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณ มีพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์และพระพุทธรูปปางไสยาสน์จำลองประดิษฐานอยู่ภายในวัด
- วัดศาลาลอย ตั้งอยู่ในตำบลศาลาลอย เดิมมีชื่อว่าวัดศิลาลอยเนื่องจากมีศิลาลอยน้ำมาชาวบ้านจึงช่วยกันอันเชิญศิลาขึ้นมาแต่ไม่สำเร็จ ปัจจุบันศิลานั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดเทพจันทร์ลอย อำเภอนครหลวง สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือพระองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานในวิหาร
- วัดไก่จ้น เป็นถิ่นกำเนิดสมเด็จพระพุฒาจารย์มีรูปปั้นจำลงอสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ ประดิษฐานในวิหาร
- Sriayuthaya Lion Park ศรีอยุธยาไลอ้อนปาร์ค
การขนส่ง
[แก้]

การรถไฟแห่งประเทศไทย — สายเหนือ
- สถานี: หนองวิวัฒน์ – บ้านปลักแรด – ท่าเรือ
- ทางรถไฟสายพระพุทธบาท (ยกเลิกเดินรถแล้ว)
- ถนนสายหลัก:
- ถนนสายภาชี – ท่าเรือ
- ถนนสายนครหลวง – ท่าเรือ
- ถนนสายท่าเรือ-พระพุทธบาท
- ถนนสายท่าเรือ – ท่าลาน
ขนมขึ้นชื่อประจำอำเภอ
[แก้]
ขนมบ้าบิ่น เป็นขนมที่มีชื่อเสียงชนิดหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขนมบ้าบิ่นที่ขึ้นชื่อนั้นเป็นขนมบ้าบิ่นของอำเภอท่าเรือ ซึ่งเป็นขนมที่มีรสชาติหวานมันหอม ในปัจจุบันนี้ผู้ผลิตได้พัฒนาให้มีถึง 3 ชนิด คือ ชนิดสีขาวทำจากมะพร้าวอ่อน ชนิดสีเขียวทำมาจากใบเตย ชนิดสีดำหรือสีม่วงทำมาจากข้าวเหนียวดำ ชาวบ้าน ทำไว้สำหรับบริโภคภายในครัวเรือนและแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน และเป็นอาชีพที่ ทำรายได้แก่ประชาชนชาวอำเภอท่าเรือ อีกอย่างหนึ่งด้วย[ต้องการอ้างอิง]