Category Archives: อำเภอสัตหีบ
อำเภอสัตหีบ
อำเภอสัตหีบ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจากตัวจังหวัดชลบุรีประมาณ 85 กิโลเมตร ความสำคัญของสัตหีบคือเป็นเมืองแห่งฐานทัพเรือและเป็นฐานทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
อำเภอสัตหีบเป็นอำเภอใต้สุดของจังหวัดชลบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางละมุง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านฉาง (จังหวัดระยอง)
- ทิศใต้ จรดอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก จรดอ่าวไทย
ประวัติ
[แก้]
มีเรื่องเล่าว่า ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จประพาสทางชลมารคเลียบฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย โดยเรือพระที่นั่ง มหาจักรี ในปี พ.ศ. 2457 พระองค์ได้เสด็จฯ มาประทับในอ่าวสัตหีบเพื่อทอดพระเนตรการซ้อมรบของกองทัพเรือด้วยในการเสด็จคราวนั้นพระองค์ได้ทอดพระเนตรหมู่บ้านสัตหีบ เห็นว่าเป็นชัยภูมิอันเหมาะสมที่จะตั้งเป็นฐานทัพเรือ จึงได้มีพระบรมราชโองการด้วยพระโอษฐ์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2457 แก่พระยาราชเสนาผู้แทนสมุหเทศภิบาล มลทฑจันทบุรี และพระยาประชาไศรยสรเดช ผู้ว่าราชการเมืองชลบุรี ขณะทรงประทับอยู่ในเรือพระที่นั่งว่า มีพระราชประสงค์ที่ดินฝั่งตำบลสัตหีบ และที่ไกล้เคียงตลอดทั้งเกาะใหญ่น้อย บรรดาที่มีอยู่ริมฝั่งน้ำอย่าให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้รับใบเหยียบย่ำหรือ กรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินบนฝั่งหรือเกาะที่สงวนไว้แล้วนั้นเป็นอันขาด[1]
หลายท่านให้ความคิดเห็นว่า “สัตต” แปลว่า เจ็ด “หีบ” หมายถึง หีบ ฉะนั้นคำว่า “สัตหีบ” ก็น่าจะแปลว่า หีบเจ็ดใบ ซึ่งสอดคล้องตามตำนานประวัติเจ้าแม่แหลมเทียนว่าได้นำพระราชาลงในหีบเจ็ดใบเพื่อหลบหนียักษ์
อีกหลักฐานหนึ่งมาจากกองประวัติศาสตร์ทหารเรือระบุว่า เมื่อ พ.ศ. 2464 รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จตรวจเยี่ยมหัวเมืองชายทะเล เพื่อจะสร้างแนวป้องกันชายฝั่งทะเลด้านนอกเพิ่มขึ้น เพราะป้อมพระจุลจอมเกล้าที่ปากน้ำสมุทรปราการนั้นใกล้เมืองหลวงมากเกินไป จึงทรงดำริหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกเป็นที่ตั้งกองทัพเรือ เพื่อตรวจตรารักษาฝั่งและเขตน่านน้ำใหญ่ จึงพระราชทานนามว่า สัตตหีบ เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นเกาะ 7 เกาะ เป็นที่กำบังลมให้แก่หมู่เรือได้ดี คำว่า “สัตหีบ” หมายถึง ที่กำบังเจ็ดแห่ง (หีบ = ที่บัง) อันหมายถึงเกาะต่าง ๆ กล่าวคือ เกาะพระ เกาะยอ เกาะหมู เกาะเตาหม้อ เกาะเณร เกาะสันฉลาม และเกาะเลา
สัตหีบแยกจากอำเภอบางละมุงเพื่อเป็น กิ่งอำเภอสัตหีบ เมื่อ พ.ศ. 2480 โดยประกอบด้วยตำบลสัตหีบและตำบลนาจอมเทียน และได้รับประกาศแต่งตั้งเป็น อำเภอสัตหีบ เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2496 ดังปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 70 ตอนที่ 17 ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2496 โดยมีนายอำเภอคนแรกชื่อ นายชุมพล อุทยานิก
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 เหตุเครื่องบินทิ้งระเบิด B-24J ประเทศสหรัฐอเมริกาหมายเลข 42-73302 ถูกกองทัพเรือ ยิงตก มีผู้เสียชีวิต 8 คน ถูกจับเป็นเชลย 2 คน[2] ท่ามกลางสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก[3]
19 เมษายน พ.ศ. 2509 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเรือใบ ประเภทโอเค ขนาด 13 ฟุต ชื่อ “เวก้า” (VEGA) จากวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่เวลา 04.28 น. ข้ามอ่าวไทยไปยังอ่าวเตยงาม ซึ่งมีระยะทางประมาณ 60 ไมล์ทะเล ด้วยพระองค์เองเพียงลำพัง ซึ่งทรงใช้เวลาในการแล่นใบในครั้งนี้ถึง 17 ชั่วโมงเต็ม โดยเสด็จถึงอ่าวเตยงามเมื่อเวลา 21.28 น. โดยได้ทรงนำธง “ราชนาวิกโยธิน” ข้ามอ่าวไทยมาด้วย หลังเสด็จถึง ทรงปักธง “ราชนาวิกโยธิน” เหนือยอดก้อนหินใหญ่ที่ชายหาดของอ่าวเตยงาม ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยบนแผ่นศิลาจารึก เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่กองทัพเรือสืบไป[4]
6 มกราคม พ.ศ. 2561 เรือบรรทุกสินค้าชื่อ ไฮเดอราบัต ชนเข้ากับเรือประมงโชคชูชัย นับเป็นเหตุการณ์เรือชนกันจนมีผู้เสียชีวิต 4 ราย นับเป็นเหตุการณ์เรือชนกันจนมีผู้เสียชีวิตครั้งร้ายแรงรองลงมาจาก เหตุเรือโดยสารระหว่างศรีราชา–เกาะสีชัง ถูกเรือบรรทุกน้ำมันชนนอกชายฝั่ง ผู้โดยสารที่ติดอยู่ในเรือเสียชีวิต 119 คน จาก 131 คน ซึ่งเกิดที่อำเภอศรีราชา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561
5 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เหตุเพลิงไหม้เมาน์เทน บี สถานบันเทิงทำให้มีผู้เสียชีวิต 23 ราย[5]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]
อำเภอสัตหีบแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 41 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | สัตหีบ | (Sattahip) | |||
2. | นาจอมเทียน | (Na Chom Thian) | |||
3. | พลูตาหลวง | (Phlu Ta Luang) | |||
4. | บางเสร่ | (Bang Sare) | |||
5. | แสมสาร | (Samaesan) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]
ท้องที่อำเภอสัตหีบประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองสัตหีบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสัตหีบ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–8; และตำบลพลูตาหลวง เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 7
- เทศบาลตำบลนาจอมเทียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาจอมเทียน เฉพาะหมู่ที่ 4, 9 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–3, 8
- เทศบาลตำบลบางเสร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเสร่ เฉพาะหมู่ที่ 1–2, 4, 8 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 5–6, 9–10
- เทศบาลตำบลเขตรอุดมศักดิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสัตหีบ เฉพาะหมู่ที่ 9 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–8
- เทศบาลตำบลเกล็ดแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเสร่ เฉพาะหมู่ที่ 7, 11 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 5–6, 9–10
- เทศบาลตำบลเขาชีจรรย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาจอมเทียน เฉพาะหมู่ที่ 5–7 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–3, 8
- องค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลูตาหลวง เฉพาะหมู่ที่ 1–6, 8 และบางส่วนของหมู่ที่ 7
- องค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสมสารทั้งตำบล
เศรษฐกิจ
[แก้]
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการและประมงปัจจุบันมีแรงงานภาคอุตสาหกรรมที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมรอบ ๆ มาพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะที่อาชีพเสริมได้แก่การเกษตร โดยมีผลผลิตสำคัญ เช่น มันสำปะหลัง มะม่วง ข้าว มะพร้าว อ้อย ทุเรียน กล้วย แตงโม กระท้อน และขนุน
การคมนาคม
[แก้]
ระบบขนส่งมวลชนในสัตหีบ
[แก้]

ในอำเภอสัตหีบมีระบบขนส่งมวลชลบริการอยู่ทั้งทางบกและราง โดยทางบกนั้นให้บริการโดยรถประจำทางสองแถวบริการขนส่งภายในและระหว่างเมือง ซึ่งคิวรถเริ่มต้นที่ตลาดสัตหีบโดยมี 6 เส้นทางเช่นไปยังนาเกลือ, บ้านฉาง ผู้คนในสัตหีบใช้บริการรถสองแถวสัตหีบเป็นขนส่งมวลชลหลักในพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่เดินทางไปโรงเรียน และรถตู้ร่วม.บขสกับมินิบัสที่สถานีขนส่งสัตหีบข้างวัดพระแม่ลูกประคำ ในบริการข่นส่งระหว่างเมืองส่วนใหญ่มีปลายทางที่ชลบุรีและกรุงเทพ โดยมีจุดรอและคิวรถตามถนนสุขุมวิท
อำเภอสัตหีบมีสถานีรถไฟบ้านพลูตาหลวงซึ่งตอนนี้ได้ขยายเพิ่มอีกสองสถานีไปที่ท่าเรือจุกเสม็ด มีรถไฟธรรมดาชั้นสามให้บริการทุกวันคือ สาย283/284 กับรถไฟสปรินเตอร์ ปรับอากาศ สาย 997/998 เก็บถาวร 2023-03-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ให้บริการเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ โดยมีปลายทางเป็นสถานีรถไฟกรุงเทพมหานคร (หัวลำโพง)