แผ่นครอบ คุ้มเกล้า : บานเกร็ด ติดฉนวนพีอี ย้ำโค้งปลาย ส […]
Category Archives: ถนนคุ้มเกล้า
ถนนคุ้มเกล้า
ถนนคุ้มเกล้า is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by focus keyword name in category.
ถนนคุ้มเกล้า เป็นถนนทางสายหลักของ เขตมีนบุรี
เขตมีนบุรี เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองและลำรางไหลผ่านหลายสาย ในอดีตเป็นเรือกสวนไร่นา บ่อปลา นาบัว และไร่หญ้า แต่ปัจจุบันเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากพื้นที่หลายแห่งถูกเปลี่ยนสภาพเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่น หมู่บ้าน อาคารพาณิชย์ สถานที่ประกอบการทั้งเล็กและขนาดใหญ่
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตมีนบุรีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตคลองสามวา มีคลองพระยาสุเรนทร์ 1 (กีบหมู) ลำรางคูคต ซอยหทัยราษฎร์ 29 (โชคอนันต์) ถนนหทัยราษฎร์ ลำรางโต๊ะสุข คลองเจ๊ก ลำรางสามวา คลองสามวา ซอยนิมิตใหม่ 5 (เหมือนสวาท) ถนนนิมิตใหม่ ซอยนิมิตใหม่ 8 (วีแสงชัย) คลองลำบึงไผ่ และคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตหนองจอก มีลำรางข้างซอยราษฎร์อุทิศ 70 คลองแยกคลองลำหินฝั่งใต้ คลองลำหินฝั่งใต้ คลองลำต้นไทร และคลองลำนกแขวกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตลาดกระบัง มีคลองบึงใหญ่ ลำรางตาทรัพย์ แนวคันนาผ่านถนนคุ้มเกล้า คลองตาเสือ ลำรางศาลเจ้า ลำรางคอวัง คลองสองต้นนุ่น และคลองลำนายโสเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตสะพานสูงและเขตคันนายาว มีคลองลาดบัวขาว คลองแสนแสบ และคลองบางชันเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
คำว่า มีนบุรี แปลว่า “เมืองปลา” เป็นนามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับเมืองใหม่ที่ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2445[3] โดยรวมอำเภอคลองสามวา อำเภอแสนแสบ อำเภอหนองจอก และอำเภอเจียรดับ (ปัจจุบันอยู่ในเขตหนองจอก) เข้าไว้ในเขตการปกครองของเมือง เหตุที่ใช้ชื่อว่าเมืองปลาเนื่องจากตำบลแสนแสบเป็นบริเวณที่มีบ่อปลามาก และเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเมืองธัญญบุรีที่แปลว่า “เมืองข้าว”[3]
ประวัติ[แก้]
เขตมีนบุรีในอดีตเป็นท้องที่หนึ่งของ อำเภอคลองสามวา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งทางทิศตะวันออกของมณฑลกรุงเทพ ต่อมาใน พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รวมท้องที่อำเภอคลองสามวากับอำเภอข้างเคียงอีก 3 อำเภอตั้งขึ้นเป็นเมืองใหม่และพระราชทานนามว่า “เมืองมีนบุรี“[4] อำเภอคลองสามวาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเมือง[3] เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเมือง (จังหวัด) แห่งนี้
ต่อมาใน พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เพื่อประหยัดงบประมาณราชการ[5] เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อำเภอที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดมีนบุรีเดิมจึงมีชื่อเรียกว่า อำเภอมีนบุรี จากนั้นกระทรวงมหาดไทยได้ตั้งสุขาภิบาลมีนบุรีขึ้นใน พ.ศ. 2498[6] ประกาศตั้งตำบลทรายกองดินใต้ แยกจากตำบลทรายกองดินใน พ.ศ. 2505[7] และขยายเขตสุขาภิบาลมีนบุรีให้ครอบคลุมทั้งอำเภอด้วย[8] ในปีถัดมา
อำเภอมีนบุรีได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตมีนบุรี หลังจากการรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. 2515 แบ่งเขตการปกครองย่อยเป็นแขวง รวม 7 แขวง และในที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตมีนบุรี แยก 5 แขวงทางด้านเหนือของเขต ไปจัดตั้งเป็นเขตคลองสามวา[9] ทำให้เขตมีนบุรีเหลือพื้นที่ปกครองอยู่ 60 ตารางกิโลเมตรเศษ ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตมีนบุรีแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยใช้ถนนร่มเกล้าฟากตะวันออกและคลองแสนแสบฝั่งเหนือเป็นเส้นแบ่ง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
มีนบุรี | Min Buri |
28.459
|
97,214
|
45,967
|
3,415.93
|
แสนแสบ | Saen Saep |
35.186
|
45,097
|
13,855
|
1,281.67
|
ทั้งหมด |
63.645
|
142,311
|
59,822
|
2,236.01
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตมีนบุรี[10] |
---|
ตราสัญลักษณ์ประจำเขต[แก้]
ตราสัญลักษณ์ประจำเขตมีนบุรี มีลักษณะเป็นตรารูปวงกลม มีปลาตะเพียนสีทองอยู่ตรงกลาง พื้นหลังด้านล่างเป็นพื้นน้ำสีฟ้า มีรวงข้าวสีเขียว สองข้างล้อมรอบด้วยคำว่า สำนักงานเขตมีนบุรี เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาไทย โดยสื่อความหมายถึงความเป็นเมืองปลา ตามความหมายของชื่อที่ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองมีนบุรีในอดีต และปลาที่ขึ้นชื่อคือปลาตะเพียน[11]
การคมนาคม[แก้]
ทางสายหลักในพื้นที่เขต ได้แก่
- ถนนรามอินทรา เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม และเขตบางเขน โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนกาญจนาภิเษกและทางพิเศษฉลองรัชได้
- ถนนสีหบุรานุกิจ เชื่อมถนนรามอินทราเข้ากับถนนร่มเกล้า
- ถนนเสรีไทย เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม และเขตบางกะปิ โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนกาญจนาภิเษกและถนนลาดพร้าวได้ (โดยถนนลาดพร้าวเชื่อมในสายทางเดียวกัน)
- ถนนรามคำแหง เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตสะพานสูง เขตบางกะปิ และเขตสวนหลวง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนกาญจนาภิเษกและมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้
- ถนนร่มเกล้า เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตลาดกระบัง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนมอเตอร์เวย์ สถานีลาดกระบัง และท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิได้
- ถนนสุวินทวงศ์ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตหนองจอก และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ถนนนิมิตใหม่ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา และอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนลำลูกกาได้
- ถนนหทัยราษฎร์ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี และเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร โดยมีถนนสายไหมต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตสายไหม บริเวณรอยต่อเขตสายไหมกับอำเภอลำลูกกา
- ถนนประชาร่วมใจ เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรี เขตคลองสามวา และเขตหนองจอก โดยมีถนนมิตรไมตรีต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตหนองจอก
- ถนนราษฎร์อุทิศ เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตหนองจอก โดยมีถนนเลียบวารีต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตหนองจอก
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
- ถนนมีนพัฒนา เชื่อมถนนเสรีไทยเข้ากับถนนรามคำแหง
- ถนนหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์ (บึงกระเทียม) เชื่อมถนนรามอินทราเข้ากับถนนเสรีไทย
- ถนนพระยาสุเรนทร์ (รามอินทรา 109) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
- ถนนสามวา เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
- ถนนราษฎร์ร่วมใจ เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา
- ถนนคุ้มเกล้า (วัดทองสัมฤทธิ์) เชื่อมระหว่างเขตมีนบุรีเข้ากับเขตลาดกระบัง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนเจ้าคุณทหารและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้
- ถนนบึงขวาง เชื่อมถนนร่มเกล้าเข้ากับถนนสุวินทวงศ์
- ซอยรามอินทรา 117 (เจริญพัฒนา) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตคลองสามวา โดยมีถนนเจริญพัฒนาต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตคลองสามวา
- ซอยร่มเกล้า 24 (การเคหะร่มเกล้า) เชื่อมเขตมีนบุรีเข้ากับเขตลาดกระบัง โดยมีถนนเคหะร่มเกล้าต่อออกไปในแนวเดียวกันเมื่อเข้าพื้นที่เขตลาดกระบัง โดยเส้นทางนี้สามารถไปยังถนนราษฏร์พัฒนาในพื้นที่เขตสะพานสูงได้
- ซอยสุวินทวงศ์ 7 (บ้านเกาะ) และ ซอยราษฎร์อุทิศ 42 เชื่อมถนนสุวินทวงศ์เข้ากับถนนราษฎร์อุทิศ
- ซอยสุวินทวงศ์ 13 (ชุมชนทองสงวน) เชื่อมถนนสุวินทวงศ์เข้ากับถนนราษฎร์อุทิศ
การคมนาคมอื่น ๆ