แผ่นใส สีขาวขุ่น อังรีดูนังต์ : แผ่นเดียว ก็ขาย แผ่นใส […]
Category Archives: เขตปทุมวัน
เขตปทุมวัน
เขตปทุมวัน is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
เขตปทุมวัน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร
เขตปทุมวัน
|
|
---|---|
คำขวัญ: บูชาท้าวมหาพรหม ชื่นชมวังสมเด็จย่า ศูนย์การค้ามากมี ลุมพินีสวนสาธารณะ ศิลปะมวยไทย สถานีรถไฟหัวลำโพง เชื่อมโยงรถไฟฟ้า สถานศึกษาเลื่องชื่อ นามระบือจุฬาลงกรณ์ | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′41.79″N 100°31′19.92″E | |
อักษรไทย | เขตปทุมวัน |
อักษรโรมัน | Khet Pathum Wan |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 8.370 ตร.กม. (3.232 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 48,382[1] |
• ความหนาแน่น | 5,780.40 คน/ตร.กม. (14,971.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10330 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1007 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
อาคารไทยยานยนตร์ เลขที่ 12/1-4 ซอยรองเมือง 5 ถนนจรัสเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/pathumwan |
เขตปทุมวัน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้[2]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตดุสิตและเขตราชเทวี มีคลองมหานาคและคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตวัฒนาและเขตคลองเตย มีทางรถไฟสายแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสาทรและเขตบางรัก มีถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณคลองแสนแสบ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นท้องนาชานเมือง มีบัวพันธุ์ไทยขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสระบัว 2 สระ และพระตำหนักสำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อนซึ่งในปัจจุบันเป็นวังสระปทุม (วังที่ประทับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี) และต่อมาได้โปรด ฯ ให้สร้างวัดปทุมวนาราม (แปลว่า วัดป่าบัว) ขึ้นเป็นพระอารามหลวง บริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า ปทุมวัน
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอปทุมวัน ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงนครบาลเมื่อ พ.ศ. 2457 โดยใช้ที่ว่าการอำเภอสามแยก (ต่อมายุบรวมกับอำเภอสัมพันธวงศ์) เป็นที่ทำการในขั้นแรก จากนั้นจึงย้ายมาตั้งอยู่ที่สี่แยกปทุมวัน และได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบันในซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ถนนพระรามที่ 4 ในปี พ.ศ. 2506[3]
ใน พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอปทุมวันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตปทุมวัน ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตปทุมวันแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
รองเมือง | Rong Mueang |
1.301
|
17,181
|
7,163
|
13,205.99
|
วังใหม่ | Wang Mai |
1.403
|
7,092
|
5,795
|
5,054.88
|
ปทุมวัน | Pathum Wan |
2.181
|
6,058
|
1,076
|
2,777.62
|
ลุมพินี | Lumphini |
3.485
|
18,051
|
16,759
|
5,179.62
|
ทั้งหมด |
8.370
|
48,382
|
30,793
|
5,780.40
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตปทุมวัน[4] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตได้แก่ ถนนพระรามที่ 1 (ต่อเนื่องเป็นถนนเพลินจิตและถนนสุขุมวิท) ตัดผ่านพื้นที่เขตในแนวนอนทางทิศเหนือ ถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองทางทิศใต้ โดยถนนที่เชื่อมระหว่างถนนทั้ง 2 สายนี้ ได้แก่ ถนนรองเมือง ถนนจารุเมือง (ต่อเนื่องเป็นถนนพระรามที่ 6) ถนนบรรทัดทอง ถนนพญาไท ถนนอังรีดูนังต์ และถนนราชดำริ นอกจากนี้ก็ยังมีถนนหลังสวน ถนนวิทยุ ถนนสารสิน ถนนจรัสเมือง ถนนเจริญเมือง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัช
การคมนาคมระบบรางนั้น สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง ตั้งอยู่ในแขวงรองเมือง เป็นสถานีรถไฟกลางของกรุงเทพมหานคร โดยรถไฟจะออกจากสถานีนี้ไปสู่จุดหมายปลายทางทั่วประเทศ
ในส่วนของระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้านั้น เขตปทุมวันมีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้แก่ สถานีหัวลำโพง สถานีสามย่าน สถานีสีลม และสถานีลุมพินี ตั้งอยู่ริมแนวเขตทางทิศใต้ ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอสก็มีสถานีสยามซึ่งเป็นสถานีหลักอยู่ในเขตนี้ เป็นจุดเชื่อมต่อของสายสีลมกับสายสุขุมวิท สถานีรถไฟฟ้าอื่น ๆ ในพื้นที่เขตปทุมวัน ได้แก่ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ สถานีราชดำริของสายสีลม สถานีชิดลมและสถานีเพลินจิต ของสายสุขุมวิท
การสัญจรทางน้ำก็ยังมีอยู่ คือ เรือด่วนที่บริการในคลองแสนแสบ ซึ่งเป็นคลองแบ่งเขตปกครองแคบ ๆ ทางทิศเหนือ
สถานที่[แก้]
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา[แก้]
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[5]
- พิพิธภัณฑ์กุมารศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ
- พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์วาจวิทยาวัฑฒน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พิพิธภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับไทย
- พิพิธภัณฑ์สมุนไพร
- เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- หอศิลป์จามจุรี
- หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย
- สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา[แก้]
สารสิน ลูกหมุนระบาย อากาศ พร้อมแผ่นฐาน สารสิน ลูกหมุนระ […]
หลังคาเมทัลชีท วิทยุ : แผ่นเดียว ก็ขาย หลังคาเมทัลชีท ว […]
พระรามที่ 4 แผ่นลอนฝ้า ลอนผนัง : แผ่นเดียว ก็ขาย พระราม […]
แผ่นครอบ พระรามที่ 1 : บานเกร็ด ติดฉนวนพีอี ย้ำโค้งปลาย […]
แผ่นใส สีใสกระจก พญาไท : แผ่นเดียว ก็ขาย แผ่นใส สีใสกระ […]
แผ่นใส สีขาวขุ่น บรรทัดทอง : แผ่นเดียว ก็ขาย แผ่นใส สีข […]
จารุเมือง ลูกหมุนระบาย อากาศ พร้อมแผ่นฐาน จารุเมือง ลูก […]
หลังคาเมทัลชีท จรัสเมือง : แผ่นเดียว ก็ขาย หลังคาเมทัลช […]
แผ่นครอบ ถนนราชดำริ: บานเกร็ด ติดฉนวนพีอี ย้ำโค้งปลาย ส […]