แผ่นใส สีขาวขุ่น ซอยมัยลาภ : แผ่นเดียว ก็ขาย แผ่นใส สีข […]
Category Archives: ซอยมัยลาภ
ซอยมัยลาภ
ซอยมัยลาภ is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
ซอยมัยลาภ เป็นถนนทางสายหลักของ เขตบางเขน
เขตบางเขน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมืองทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร และเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 รองจากเขตบางแค
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตสายไหม มีถนนพหลโยธิน คลองลำผักชี คลองหนองจอก คลองตะแคง คลองหนองบัวมน คลองบึงพระยาสุเรนทร์ (ออเป้ง) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองสามวา มีคลองพระยาสุเรนทร์และคลองคู้ชุมเห็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตคันนายาว เขตบึงกุ่ม และเขตลาดพร้าว มีคลองจรเข้บัว (หกขุด) คลองลำชะล่า คลองตาเร่ง คลองโคกคราม คลองสามขา และคลองหลุมไผ่เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตจตุจักร เขตหลักสี่ และเขตดอนเมือง มีคลองบางบัวและคลองถนนเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
เขตบางเขนเดิมมีฐานะเป็น อำเภอบางเขน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 ขึ้นอยู่กับจังหวัดพระนคร เดิมทิศตะวันตกของอำเภอมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนนทบุรีโดยใช้แนวคลองเปรมประชากรเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัด จนกระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2475 ทางราชการได้โอนพื้นที่ซึ่งตั้งอยู่ทางฟากตะวันตกของคลองนี้ (ได้แก่ ตำบลทุ่งสองห้องจากอำเภอปากเกร็ด และหมู่ที่ 1-3 ของตำบลลาดโตนดจากอำเภอเมืองนนทบุรี) มาอยู่ในท้องที่ปกครองของอำเภอบางเขน เพื่อความสะดวกในการตรวจตราของเจ้าหน้าที่และความสะดวกในการติดต่อราชการของประชาชนในท้องที่ดังกล่าว คลองประปาจึงกลายเป็นแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างทั้งสองจังหวัดแทนนับแต่นั้น
เนื่องจากอำเภอบางเขนมีอาณาเขตกว้างขวางมาก ประกอบกับมีชุมนุมชน ย่านการค้า และอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในท้องที่ ในปี พ.ศ. 2490 กระทรวงมหาดไทยจึงได้แบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตำบลสายไหมตั้งเป็นตำบลออเงิน รวมพื้นที่บางส่วนของตำบลอนุสาวรีย์และตำบลตลาดบางเขนตั้งเป็นตำบลคลองถนน และแบ่งพื้นที่ทางทิศเหนือของตำบลทุ่งสองห้องตั้งเป็นตำบลสีกัน และได้จัดตั้งสุขาภิบาลอนุสาวรีย์ขึ้นในบางส่วนของตำบลอนุสาวรีย์เมื่อปี พ.ศ. 2499 (ภายหลังได้ขยายเขตครอบคลุมทั้งอำเภอ จนกระทั่งเทศบาลนครกรุงเทพได้โอนเอาตำบลลาดยาวเข้าไปอยู่ในท้องที่ในปี พ.ศ. 2507)
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2514–2515 มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองภูมิภาคไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี กล่าวคือ รวมจังหวัดทั้งสองเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ยุบการปกครองแบบเทศบาลและสุขาภิบาล รวมทั้งแบ่งหน่วยการปกครองออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางเขนจึงเปลี่ยนฐานะเป็น เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 8 แขวง
ต่อมาเมื่อมีประชากรหนาแน่นขึ้นเนื่องจากความเจริญทางเศรษฐกิจและสาธารณูปโภค รวมทั้งท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต เพื่อสะดวกแก่การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศแบ่งพื้นที่ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเขตไปจัดตั้งเป็นเขตดอนเมืองและเขตจตุจักรในปี พ.ศ. 2532 และเมื่อปี พ.ศ. 2540 ก็ได้แบ่งพื้นที่ทิศเหนือของเขตไปจัดตั้งเป็นเขตสายไหม แต่ในเวลาเดียวกันก็ได้รับพื้นที่บางส่วนของแขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว มาอยู่ในการปกครอง โดยปัจจุบันมีฐานะเป็นหมู่ที่ 8-10 ของแขวงท่าแร้ง
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตบางเขนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยมีคลองกะเฉด คลองลำไผ่ และคลองไผ่เขียวเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
อนุสาวรีย์ | Anusawari |
18.406
|
94,550
|
57,418
|
5,136.91
|
ท่าแร้ง | Tha Raeng |
23.717
|
96,773
|
51,694
|
4,080.32
|
ทั้งหมด |
42.123
|
191,323
|
109,112
|
4,542.00
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางเขน[2] |
---|
การคมนาคม[แก้]
- ทางสายหลัก
|
- ทางสายรองและทางลัด
|
|
- ทางน้ำ
- คลองถนน
- คลองบางบัวใช้สัญจร
สถานที่สำคัญ[แก้]
- วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
- อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
- เสถียรธรรมสถาน
- ตลาดยิ่งเจริญ
- กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- กรมทางหลวงชนบท
- สนามมวยเวทีลุมพินี
สถานประกอบพยาบาล[แก้]
- โรงพยาบาลเซ็นทรัลเยนเนอรัล
- โรงพยาบาลสายหยุด
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1
- สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง
สถาบันการศึกษา[แก้]
สถาบันอุดมศึกษา[แก้]
- มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
- มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตสะพานใหม่
- มหาวิทยาลัยเกริก
สถาบันอาชีวศึกษา[แก้]
- โรงเรียนไทยบริหารธุรกิจและพณิชยการ
- โรงเรียนวิบูลย์บริหารธุรกิจ รามอินทรา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ
- วิทยาลัยสยามบัณฑิต