พระรามที่ 6 ลูกหมุนระบาย อากาศ พร้อมแผ่นฐาน พระรามที่ 6 […]
Category Archives: ถนนพระรามที่ 6
ถนนพระรามที่ 6
ถนนพระรามที่ 6 is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
ถนนพระรามที่ 6 เป็นถนนทางสายหลักของ เขตดุสิต
เขตดุสิต เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตดุสิตตั้งอยู่ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางซื่อ มีคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตพญาไทและเขตราชเทวี มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตปทุมวัน เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตพระนคร มีคลองมหานาคและคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางพลัด มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปรับปรุงจัดรูปแบบการปกครองใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย โดยจัดการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งในมณฑลกรุงเทพมีกระทรวงนครบาลดูแล แบ่งเขตปกครองออกเป็นอำเภอและตำบลเช่นเดียวกับหัวเมืองอื่น ๆ โดย อำเภอดุสิต เป็น 1 ใน 8 อำเภอชั้นใน ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ริมคลองเปรมประชากร ถนนสุโขทัย
ในปี พ.ศ. 2481 อำเภอบางซื่อซึ่งเป็นอำเภอชั้นนอกทางทิศเหนือ ได้ถูกยุบลงเป็นตำบลมาขึ้นกับอำเภอดุสิต และเนื่องจากทางอำเภอมีจำนวนประชากรและพื้นที่กว้างขวางมาก กระทรวงมหาดไทยจึงได้แยกตำบลสามเสนใน ตำบลมักกะสัน ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี และตำบลถนนพญาไท ไปรวมกับพื้นที่บางส่วนของอำเภอบางกะปิ เพื่อจัดตั้งเป็นอำเภอพญาไท ในปี พ.ศ. 2509
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอดุสิตจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีหน่วยการปกครองย่อย 6 แขวง
ต่อมา ในพื้นที่เขตดุสิตมีประชากรเพิ่มมากขึ้นและยังมีพื้นที่กว้างขวาง ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานราชการสามารถดูแลได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งสำนักงานเขตดุสิต สาขา 1 รับผิดชอบแขวงบางซื่อ ซึ่งได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยตั้งเป็นเขตบางซื่อ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 [2]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตดุสิตแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ดุสิต | Dusit |
2.233
|
12,583
|
2,533
|
5,635.02
|
วชิรพยาบาล | Wachiraphayaban |
1.074
|
10,808
|
3,062
|
10,063.31
|
สวนจิตรลดา | Suan Chit Lada |
1.737
|
8,821
|
2,471
|
5,078.29
|
สี่แยกมหานาค | Si Yaek Maha Nak |
0.339
|
7,422
|
2,434
|
21,893.81
|
ถนนนครไชยศรี | Thanon Nakhon Chai Si |
5.282
|
55,220
|
20,794
|
10,454.37
|
ทั้งหมด |
10.665
|
94,854
|
31,294
|
8,893.95
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตดุสิต[3] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนน
- ถนนประชาราษฎร์ สาย 1
- ถนนทหาร
- ถนนประดิพัทธิ์
- ถนนสามเสน
- ถนนอำนวยสงคราม
- ถนนเศรษฐศิริ
- ถนนนครไชยศรี
- ถนนสุโขทัย
- ถนนราชวิถี
- ถนนศรีอยุธยา
- ถนนพิษณุโลก
- ถนนนครสวรรค์
- ถนนอู่ทองนอก
- ถนนอู่ทองใน
- ถนนราชดำเนินนอก
- ถนนนครราชสีมา
- ถนนกรุงเกษม
- ถนนขาว
- ถนนสวรรคโลก
- ถนนเทอดดำริ
- ถนนพระรามที่ 5
- ถนนพระรามที่ 6
- ถนนเตชะวณิช
- ถนนเขียวไข่กา
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามี 1 สะพาน คือ
- สะพานกรุงธนบุรี (ซังฮี้) เชื่อมระหว่างเขตดุสิตกับเขตบางพลัด
รถไฟ
- ทางรถไฟสายเหนือก็ผ่านพื้นที่เขตนี้ โดยถือเป็นแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตดุสิตกับเขตราชเทวีและเขตพญาไทด้วย มี สถานีรถไฟจิตรลดา หรือสถานีรถไฟหลวงจิตรลดา ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต แต่เป็นสถานีพิเศษที่มิได้เปิดใช้เป็นการทั่วไปต่อสาธารณชน โดยใช้ที่หยุดรถโรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นจุดโดยสารแทน และยังมี สถานีสามเสนตั้งอยู่ในแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต นอกจากนั้นยังมีที่หยุดรถไฟยมราช ตั้งอยู่ในแขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต
ทางน้ำ อาศัย แม่น้ำเจ้าพระยา ในการคมนาคมและสัญจร
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 เกิดเหตุไฟไหม้และระเบิดกรมสรรพาวุธทหารบก เขตดุสิต โดยเหตุเกิดที่โรงงานผลิตจรวด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 38 ราย บาดเจ็บ 350 คน
สถานที่สำคัญ[แก้]
วัง[แก้]
- พระราชวังดุสิต ซึ่งมีพระบรมรูปทรงม้า อยู่ที่ ลานพระราชวังดุสิต หรือที่เรียกกันว่า “ลานพระรูป” และมีพระที่นั่งและพระตำหนักหลายองค์ในบริเวณพระราชวังดุสิต ที่สำคัญ อาทิ พระที่นั่งอนันตสมาคม และ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ที่ประทับประจำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเมื่อประทับในกรุงเทพมหานคร
- วังศุโขทัย
- วังสวนกุหลาบ
- วังปารุสกวัน ปัจจุบันเป็นที่ทำการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
- วังจันทรเกษม ปัจจุบันเป็นที่ทำการกระทรวงศึกษาธิการ
- วังกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ปัจจุบันอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- วังกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ปัจจุบันอยู่ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศร์
- วังสวนสุนันทา ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
สถานที่ทำการรัฐบาล และหน่วยงานราชการ[แก้]
- ทำเนียบรัฐบาล
- รัฐสภาไทย
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
- สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา
- สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
- บ้านพิษณุโลก
- บ้านมนังคศิลา
- หอสมุดแห่งชาติ
- กระทรวงศึกษาธิการ
- กองบัญชาการ กองทัพภาคที่ 1 กองทัพบก
- กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล. 1 รอ.) กองทัพภาคที่ 1 กองทัพบก
- กรมการทหารสื่อสาร
- กรมการขนส่งทหารบก
- กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
- กรมสรรพาวุธทหารบก
- กรมสวัสดิการทหารบก (สก.ทบ.)
- กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.)
- กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 (บก.น.1)
- สถานีตำรวจนครบาลสามเสน
- สถานีตำรวจนครบาลดุสิต
ศาสนสถาน[แก้]
ศาสนสถานในศาสนาพุทธ[แก้]
- วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
- วัดราชาธิวาส
- วัดน้อยนพคุณ
- วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
- วัดราชผาติการาม วรวิหาร
- วัดจันทรสโมสร
- วัดประชาระบือธรรม