เขตคันนายาว หลังคา พียู โฟม เขตคันนายาว หลังคา พียู โฟม […]
Category Archives: เขตคันนายาว
เขตคันนายาว
เขตคันนายาว is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
เขตคันนายาว
เขตคันนายาว
|
|
---|---|
คำขวัญ: การเกษตรมากมี ของดีชุมชน เที่ยวยลสวนสยาม สนามกอล์ฟเล่นกีฬา ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ขับสบายใจถนนวงแหวน | |
อักษรไทย | เขตคันนายาว |
อักษรโรมัน | Khet Khan Na Yao |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 25.980 ตร.กม. (10.031 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 97,187[2] |
• ความหนาแน่น | 3,740.83 คน/ตร.กม. (9,688.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10230 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1043 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 9 ซอย 01 กาญจนาภิเษก 11/5 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/khannayao |
คันนายาว เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที่
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางเขนและเขตคลองสามวา มีคลองตาเร่ง คลองลำชะล่า คลองจรเข้บัว (หกขุด) คลองคู้ชุมเห็ด และคลองคู้บอนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองสามวาและเขตมีนบุรี มีคลองคู้บอนและคลองบางชันเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบึงกุ่ม มีคลองกุ่ม ถนนเสรีไทยฟากใต้ คลองระหัส คลองลำปลาดุก คลองหนองแขม คลองหลวงวิจิตร คลองบางชวดด้วน และถนนรามอินทราฟากใต้เป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ประมาณปี พ.ศ. 2386 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบางจนได้รับชัยชนะ และได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่แถบคลองกุ่ม ต่อมามีผู้คนอพยพเข้าไปอยู่อาศัยในย่านนี้และย่านใกล้เคียงมากขึ้น พื้นที่บางส่วนกลายเป็นที่ทำนาผืนใหญ่[3] ในการทำนาก็จะมีการสร้างแนวดินให้พูนสูงขึ้นจากท้องนาเพื่อกั้นที่นาเป็นส่วน ๆ หรือเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับปลูกข้าว ซึ่งก็คือ “คันนา” มีที่นาอยู่ผืนหนึ่งใกล้กับคลองแสนแสบ กินอาณาเขตตั้งแต่ท้ายหมู่บ้านสุเหร่าแดง (ปัจจุบันคือบริเวณถนนเสรีไทย)[4] ไปสิ้นสุดตรงบริเวณที่เรียกว่า “โรงแดง” เพราะเป็นที่ตั้งของบ้านหลังหนึ่งที่มุงหลังคาสังกะสีเป็นสนิม มองเห็นเป็นสีแดงแต่ไกล (ปัจจุบันคือบริเวณถนนรามอินทรา) เรียกได้ว่าเป็นนาที่มีคันยาวมากที่สุด จึงสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อ “คันนายาว”[5][6]
ประวัติ[แก้]
ตำบลคันนายาว ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยในปี พ.ศ. 2506 กระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลคันนายาวด้วย[7] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[8] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[9] ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลคันนายาวจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคันนายาว อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ
ด้วยเหตุที่เขตบางกะปิมีเนื้อที่กว้างขวางมากและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ โดยจัดตั้งเขตบึงกุ่ม ประกอบด้วยแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงแยกจากเขตบางกะปิ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กันยายนเป็นต้นไป[10] อย่างไรก็ตาม หลังจากแบ่งเขตใหม่แล้ว เขตบึงกุ่มยังคงมีท้องที่กว้างขวางและมีประชากรหนาแน่น ประกอบกับความเจริญทางด้านสาธารณูปโภคได้หลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยแยกแขวงคันนายาว รวมกับหมู่ที่ 3, 11 (บางส่วน) ของแขวงคลองกุ่ม และหมู่ที่ 1, 2, 9, 10 (บางส่วน) ของแขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว จัดตั้งเป็น เขตคันนายาว[11]
และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงคันนายาวเต็มพื้นที่เขตคันนายาวอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[12][13] ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตคันนายาวได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม[12] เขตสะพานสูง[12] เขตหลักสี่[14] เขตวังทองหลาง[15] และเขตคลองสามวา[16] โดยใช้พื้นที่ชั้นล่างของศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 7 แขวงคันนายาวเป็นที่ทำการ ต่อมาได้ย้ายมาตั้งสำนักงานเขตถาวรริมคลองครุ ในซอย 01 กาญจนาภิเษก 11/5 เมื่อช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2552[3]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคันนายาว และตั้งแขวงรามอินทรา เขตคันนายาว[17] โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตคันนายาวแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง โดยใช้ถนนกาญจนาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
คันนายาว | Khan Na Yao |
12.920
|
47,700
|
18,053
|
3,691.95
|
รามอินทรา | Ram Inthra |
13.060
|
49,487
|
26,181
|
3,789.20
|
ทั้งหมด |
25.980
|
97,187
|
44,234
|
3,740.83
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตคันนายาว[18] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตคันนายาวมีทางสายหลัก ได้แก่
|
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
ทางน้ำมีคลองแสนแสบและคลองบางชัน ใช้สัญจร
สถานที่สำคัญ[แก้]
- สวนสยาม
- นิคมอุตสาหกรรมบางชัน (ส่วนเขตคันนายาว)
- โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
- วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม (วัดบางชัน)
- เทคโนโลยีดุสิต รามอินทรา
หลังคาเมทัลชีท มิตรทหาร : แผ่นเดียว ก็ขาย หลังคาเมทัลชี […]
ยังสว่าง ลูกหมุนระบาย อากาศ พร้อมแผ่นฐาน ยังสว่าง ลูกหม […]
แผ่นใส สีขาวขุ่น ปัฐวิกรณ์ : แผ่นเดียว ก็ขาย แผ่นใส สีข […]
แผ่นใส สีใสกระจก อมรวิวัฒน์ : แผ่นเดียว ก็ขาย แผ่นใส สี […]
แผ่นครอบ กาญจนาภิเษก : บานเกร็ด ติดฉนวนพีอี ย้ำโค้งปลาย […]
รามอินทรา แผ่นลอนฝ้า ลอนผนัง : แผ่นเดียว ก็ขาย รามอินทร […]
หลังคาเมทัลชีท บางชัน : แผ่นเดียว ก็ขาย หลังคาเมทัลชีท […]
วัดบางชัน ลูกหมุนระบาย อากาศ พร้อมแผ่นฐาน วัดบางชัน ลูก […]
แผ่นใส สีขาวขุ่น นพรัตน : แผ่นเดียว ก็ขาย แผ่นใส สีขาวข […]
- 1
- 2