แผ่นใส สีใสกระจก สุขุมวิท : แผ่นเดียว ก็ขาย แผ่นใส สีใส […]
Category Archives: ถนนสุขุมวิท
ถนนสุขุมวิท
ถนนสุขุมวิท is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
ถนนสุขุมวิท เป็นถนนทางสายหลักของ อำเภอเมืองสมุทรปราการ
เมืองสมุทรปราการ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับอำเภอพระสมุทรเจดีย์ นอกจากเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดแล้ว อำเภอเมืองสมุทรปราการยังเป็นที่ตั้งของศาลเด็กและเยาวชน ห้องสมุดประชาชน และท่ารถโดยสารประจำทางสายต่าง ๆ รวมทั้งเป็นบริเวณที่จัดงานพระสมุทรเจดีย์ของทุกปี อำเภอนี้เป็นอำเภอที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย
เนื้อหา
ประวัติศาสตร์[แก้]
- พ.ศ. …………. ตั้งอำเภอเมืองสมุทรปราการ
- วันที่ 11 ธันวาคม 2478 จัดตั้งเทศบาลเมืองสมุทรปราการ[1]
- วันที่ 1 มกราคม 2486 จังหวัดสมุทรปราการ ได้ยุบลงเนื่องจากขณะนั้นในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการจึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร และ เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอสมุทรปราการ[2]
- วันที่ 10 พฤษภาคม 2489 ตั้งจังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง[3]
- วันที่ 25 กันยายน 2489 อำเภอสมุทรปราการเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น อำเภอเมืองสมุทรปราการ[4]
- วันที่ 20 กันยายน 2505 ตั้งตำบลบางปูใหม่ แยกออกจากตำบลบางปู[5]
- วันที่ 2 พฤศจิกายน 2505 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสมุทรปราการ[6]
- วันที่ 28 มกราคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงเหนือในท้องที่บางส่วนของตำบลสำโรงเหนือ และ บางส่วนของตำบลบางเมือง[7]
- วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2506 โอนพื้นที่หมู่ 1-5 (บางส่วน) ของตำบลบางเมือง หมู่ 4-5 (บางส่วน) และ หมู่ 7 (บางส่วน) ของตำบลบางด้วน หมู่ 1-3 (บางส่วน) หมู่ 4 (ทั้งหมู่) หมู่ 6 (บางส่วน) และ หมู่ 7 (ทั้งหมู่) ของตำบลท้ายบ้าน ให้ไปรวมกับตำบลปากน้ำ เนื่องจากได้ขยายอาณาเขตเทศบาลเมืองสมุทรปราการ[8]
- วันที่ 2 สิงหาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลบางปูในท้องที่ตำบลบางปู ตำบลบางปูใหม่ และตำบลท้ายบ้าน[9]
- วันที่ 15 กรกฎาคม 2522 ตั้งตำบลบ้านคลองสวน แยกออกจากตำบลนาเกลือ[10]
- วันที่ 15 ธันวาคม 2527 แยกพื้นที่ตำบลปากคลองบางปลากด ตำบลในคลองบางปลากด ตำบลแหลมฟ้าผ่า ตำบลนาเกลือ และตำบลบ้านคลองสวน ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ขึ้นกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ[11]
- วันที่ 1 สิงหาคม 2529 ตั้งตำบลบางเมืองใหม่ แยกออกจากตำบลบางเมือง[12]
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ตั้งตำบลเทพารักษ์ แยกออกจากตำบลสำโรงเหนือ[13]
- วันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็น อำเภอพระสมุทรเจดีย์[14]
- วันที่ 12 กรกฎาคม 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลแพรกษาในท้องที่บางส่วนของตำบลแพรกษา[15]
- วันที่ 18 กรกฎาคม 2537 จัดตั้งสุขาภิบาลด่านสำโรงในท้องที่บางส่วนของตำบลสำโรงเหนือ[16] และจัดตั้งสุขาภิบาลบางเมือง ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางเมือง และตำบลสำโรงเหนือ[17]
- วันที่ 1 สิงหาคม 2538 ตั้งตำบลท้ายบ้านใหม่ แยกออกจากตำบลท้ายบ้าน[18]
- วันที่ 21 สิงหาคม 2538 ตั้งตำบลแพรกษาใหม่ แยกออกจากตำบลแพรกษา[19]
- วันที่ 7 กันยายน 2538 จัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงเหนือเป็นเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ[20]
- วันที่ 24 มีนาคม 2542 ยกฐานะเทศบาลเมืองสมุทรปราการเป็นเทศบาลนครสมุทรปราการ[21]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 จัดตั้งสุขาภิบาลบางเมือง สุขาภิบาลด่านสำโรง สุขาภิบาลบางปู และสุขาภิบาลแพรกษา เป็นเทศบาลตำบลบางเมือง เทศบาลตำบลด่านสำโรง เทศบาลตำบลบางปู และเทศบาลตำบลแพรกษาตามลำดับ
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางนา (กรุงเทพมหานคร) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการ และถนนแบริ่ง (สุขุมวิท 107) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบางพลีและอำเภอบางบ่อ มีคลองหนองกระทุ่ม คลองสำโรง คลองทับนาง คลองกู้พารา คลองบางกระบือ คลองบางเหี้ยน้อย คลองสาม คลองหัวเกลือ คลองชลประทาน คลองด่านน้อย และคลองลึกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ จรดอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอพระประแดง มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางฝ้าย คลองขุด และถนนทางรถไฟสายเก่าเป็นเส้นแบ่งเขต
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอเมืองสมุทรปราการแบ่งเขตปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 95 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ปากน้ำ | (Pak Nam) | – | 8. | บางปู | (Bang Pu) | 4 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||||
2. | สำโรงเหนือ | (Samrong Nuea) | 9 หมู่บ้าน | 9. | บางด้วน | (Bang Duan) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||||
3. | บางเมือง | (Bang Mueang) | 11 หมู่บ้าน | 10. | บางเมืองใหม่ | (Bang Mueang Mai) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||||
4. | ท้ายบ้าน | (Thai Ban) | 6 หมู่บ้าน | 11. | เทพารักษ์ | (Thepharak) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||||
5. | บางปูใหม่ | (Bang Pu Mai) | 10 หมู่บ้าน | 12. | ท้ายบ้านใหม่ | (Thai Ban Mai) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||||
6. | แพรกษา | (Phraekkasa) | 3 หมู่บ้าน | 13. | แพรกษาใหม่ | (Phraekkasa Mai) | 4 หมู่บ้าน | ||||||||||||||||||
7. | บางโปรง | (Bang Prong) | 4 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
อำเภอเมืองสมุทรปราการประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลนครสมุทรปราการ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากน้ำทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางเมือง (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางเมืองเดิม)
- เทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแพรกษาใหม่ (นอกเขตเทศบาลตำบลแพรกษา)
- เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสำโรงเหนือ ตำบลบางเมืองใหม่ และตำบลเทพารักษ์
- เทศบาลตำบลด่านสำโรง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสำโรงเหนือ
- เทศบาลตำบลบางเมือง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางเมือง ตำบลบางเมืองใหม่ และตำบลเทพารักษ์
- เทศบาลตำบลแพรกษา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแพรกษาและตำบลแพรกษาใหม่
- เทศบาลตำบลบางปู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ ตำบลบางปู และตำบลท้ายบ้านใหม่ทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเทพารักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทพารักษ์ (นอกเขตเทศบาลตำบลสำโรงเหนือและเทศบาลตำบลบางเมือง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแพรกษา (นอกเขตเทศบาลตำบลแพรกษา)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางโปรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโปรงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางด้วนทั้งตำบล
การศึกษา[แก้]
ในอำเภอเมืองสมุทรปราการมีห้องสมุดประชาชนตั้งอยู่บริเวณตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัด และพิพิธภัณฑ์สวาง พิพิธภัณฑ์นายเรือ มีโรงเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลศึกษา จนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย
โรงเรียนในอำเภอ[แก้]
- โรงเรียนสุมานัน
- โรงเรียนบุรารักษ์
- โรงเรียนสมุทรปราการ
- โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
- โรงเรียนเทพศิรินทร์ สมุทรปราการ (เดิมคือ โรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์)
- โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล
- โรงเรียนอู่ทิพย์
- โรงเรียนศรีวิทยาปากน้ำ
- โรงเรียนเซนต์ราฟาแอล
- โรงเรียนพคุณวิทยา
- โรงเรียนเฉลิมไฉไลวิทยา
- โรงเรียนหาดอมราอักษรลักษณ์วิทยา
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ
- โรงเรียนอุ่นอารีวิทยา
- โรงเรียนสุขเจริญผล
- โรงเรียนสุขเจริญผลแพรกษา
- โรงเรียนวัดแพรกษา
- โรงเรียนวัดตำหรุ
- โรงเรียนป้วยฮั้ว
- โรงเรียนทรงสรรพวิทย์
- โรงเรียนทรงวิทยาเทพารักษ์