มหาสวัสดิ์ แผ่นลอนฝ้า ลอนผนัง : แผ่นเดียว ก็ขาย มหาสวัส […]
Category Archives: ตำบลมหาสวัสดิ์
ตำบลมหาสวัสดิ์
ตำบลมหาสวัสดิ์ is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
ตำบลมหาสวัสดิ์ เป็นตำบลหนึ่งใน 9 ตำบล ของอำเภอบางกรวย
บางกรวย เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของจังหวัดนนทบุรี และเป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ติดกับกรุงเทพมหานคร แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงวิถีชีวิตแบบเรือกสวนไร่นาเอาไว้อย่างชัดเจน แต่ทว่าบางกรวยยังถือว่าเป็นศูนย์กลางความเจริญในแง่ต่าง ๆ ของจังหวัดนนทบุรีทั้งในแง่ของการเดินทางที่สะดวกสบายเนื่องจากมีพื้นที่อยู่ติดถนนเส้นหลักหลายสาย รวมไปถึงยังมีร้านอาหารชื่อดังอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีวัดชลอซึ่งถือเป็นวัดที่โด่งดังมาตั้งแต่สมัยอดีตตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางของอำเภอบางกรวยอีกด้วย
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอบางกรวยตั้งอยู่ทางใต้สุดของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัด 16.86 กิโลเมตร[2] มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางใหญ่และอำเภอเมืองนนทบุรี มีคลองขุดใหม่, คลองจีนบ่าย, ถนนบางม่วง-บางคูลัด, คลองหัวคูใน (วัดพระเงิน), คลองบางนา, คลองนาคเกี้ยว, คลองบางค้อ, คลองบางกอกน้อย, คลองวัดแดง, แนวรั้วหมู่บ้านเยาวพรรณ, ถนนบางศรีเมือง 1, คลองวัดสนาม, คลองบางสีทอง, ซอยบางกรวย-ไทรน้อย 30 (วัดรวกบางสีทอง), ซอยบางไผ่ ซอย 3 (วัดรวกบางสีทอง), ถนนบางไผ่พัฒนา, คลองธรรมบาล และคลองบางกรวยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองนนทบุรีและเขตบางซื่อ (กรุงเทพมหานคร) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางพลัด, เขตตลิ่งชัน และเขตทวีวัฒนา (กรุงเทพมหานคร) มีทางรถไฟสายใต้, คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพุทธมณฑล (จังหวัดนครปฐม) มีคลองนราภิรมย์เป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่ออำเภอ[แก้]
ชื่ออำเภอบางกรวยตั้งตามชื่อคลองบางกรวยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยาสายเดิม สันนิษฐานว่าชื่อ “บางกรวย” มีที่มาจากการที่ตามแนวสองฝั่งคลองสายนี้ในอดีตมีต้นกรวย (Horsfieldia irya) ขึ้นอยู่หนาแน่น[3][4] นอกจากนี้แหล่งข้อมูลบางแห่งยังอธิบายว่าชื่อ “บางกรวย” เป็นชื่อที่ผู้คนเรียกตามรูปพื้นที่อำเภอที่มีลักษณะคล้ายกรวยยื่นเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยา หลังจากอำเภอบางแม่นาง (ปัจจุบันคืออำเภอบางใหญ่) ได้แยกตัวออกไป[3] อย่างไรก็ตาม ได้ปรากฏชื่อคลองบางกรวยและตำบลบางกรวยในเอกสารต่าง ๆ อยู่ก่อนการจัดตั้งกิ่งอำเภอบางแม่นางแล้ว
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอบางใหญ่ ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2447 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่กว้างขวางมาก ต่อมาเจ้าหน้าที่ราชการดูแลไม่ทั่วถึง จึงได้แบ่งเขตการปกครองตำบลบางใหญ่และบางม่วงทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอบางแม่นางใน พ.ศ. 2460 ขึ้นอยู่กับอำเภอบางใหญ่จนถึง พ.ศ. 2464 จึงได้ยกฐานะเป็นอำเภอ
ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนชื่ออำเภอบางใหญ่ตามบริเวณที่ตั้งอำเภอและตามการเรียกของคนสมัยนั้นเป็น อำเภอบางกรวย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2473 พร้อมๆ กับที่อำเภอบางแม่นางได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอบางใหญ่” แทน[5]
วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดธนบุรี กับจังหวัดนนทบุรี (ก,ข,ค,ง,จ,ฉ,ช,ซ)[6]
-
- ก. โอนพื้นที่ตำบลบางอ้อ ตำบลบางรัก และตำบลบางพลัด ของอำเภอบางพลัด จังหวัดธนบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ด้านเหนือของทางรถไฟสายใต้ ไปขึ้นกับตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
- ข. โอนพื้นที่หมู่ 1,2 ของตำบลบางบำหรุ อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ด้านเหนือของทางรถไฟสายใต้ ไปขึ้นกับตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
- ค. โอนพื้นที่หมู่ 1,2 ของตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ด้านใต้ของทางรถไฟสายใต้ ไปขึ้นกับตำบลบางอ้อ อำเภอบางพลัด จังหวัดธนบุรี
- ง. โอนพื้นที่หมู่ 10 ของตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ด้านใต้ของทางรถไฟสายใต้ ไปขึ้นกับตำบลบางรัก อำเภอบางพลัด จังหวัดธนบุรี
- จ. โอนพื้นที่หมู่ 13 ของตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ด้านใต้ของทางรถไฟสายใต้ ไปขึ้นกับตำบลสวนพริก อำเภอบางพลัด จังหวัดธนบุรี
- ฉ. โอนพื้นที่หมู่ 1 ของตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ด้านใต้ของทางรถไฟสายใต้ ไปขึ้นกับตำบลสวนพริก อำเภอบางพลัด จังหวัดธนบุรี
- ช. โอนพื้นที่หมู่ 9,11 ของตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ด้านใต้ของทางรถไฟสายใต้ ไปขึ้นกับตำบลบางบำหรุ อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี
- การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดตามหมายอักษร ก.ข.ค.ง.จ.ฉ.ช. ให้ถือเชิงลาดด้านทิศเหนือของทางรถไฟสายใต้ ตั้งแต่สะพานพระราม 6 ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงคลองบางกอกน้อยฝั่งตะวันออก เป็นเส้นแบ่งเขต
- ซ. โอนพื้นที่หมู่ 1,2,3,4,8,9,11 ของตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เฉพาะส่วนที่อยู่ฝั่งใต้ของคลองมหาสวัสดิ์ ไปขึ้นกับตำบลตลิ่งชัน อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี
- การเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดตามหมายอักษร ซ. ให้ถือเอาฝั่งตะวันออกของคลองบางกอกน้อย ตรงสะพานรถไฟขึ้นไปทางเหนือจนถึงตรงข้ามคลองมหาสวัสดิ์ฝั่งเหนือ และตัดข้ามคลองบางกอกน้อย ไปถือเอาฝั่งเหนือของคลองมหาสวัสดิ์ต่อไปจนถึงสี่แยกคลองนราภิรมย์ เป็นเส้นแบ่งเขต
ครั้นใน พ.ศ. 2486 จังหวัดนนทบุรีถูกยุบลงเนื่องจากขณะนั้นเกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอบางกรวยถูกโอนไปเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดธนบุรี แต่ภายหลังก็ได้กลับมาอยู่ในการปกครองของจังหวัดนนทบุรีซึ่งได้รับการยกฐานะขึ้นมาอีกครั้งใน พ.ศ. 2489[7]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอบางกรวยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน รวม 60 หมู่บ้าน (หรือ 41 หมู่บ้าน หากไม่นับรวมในเขตเทศบาลเมืองบางกรวยซึ่งไม่มีตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว) ได้แก่
1. | วัดชลอ | (Wat Chalo) | 10 หมู่บ้าน | 6. | บางคูเวียง | (Bang Khu Wiang) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||||||||
2. | บางกรวย | (Bang Kruai) | 9 หมู่บ้าน | 7. | มหาสวัสดิ์ | (Maha Sawat) | 7 หมู่บ้าน | ||||||||||||||
3. | บางสีทอง | (Bang Si Thong) | 5 หมู่บ้าน | 8. | ปลายบาง | (Plai Bang) | 5 หมู่บ้าน | ||||||||||||||
4. | บางขนุน | (Bang Khanun) | 5 หมู่บ้าน | 9. | ศาลากลาง | (Sala Klang) | 6 หมู่บ้าน | ||||||||||||||
5. | บางขุนกอง | (Bang Khun Kong) | 6 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอบางกรวยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองบางกรวย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดชลอและตำบลบางกรวยทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลปลายบาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคูเวียงทั้งตำบล ตำบลมหาสวัสดิ์ (เฉพาะหมู่ที่ 1, 2, 6, 7 และบางส่วนของหมู่ที่ 5) และตำบลปลายบางทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลศาลากลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลากลางทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางสีทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางสีทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางขนุน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขนุนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนกอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขุนกองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมหาสวัสดิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาสวัสดิ์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลปลายบาง)
การคมนาคม[แก้]
ถนน[แก้]
ถนนสายสำคัญของอำเภอบางกรวย ได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9)
- ถนนบางกรวย-ไทรน้อย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3215)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3901 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านนอก)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (คู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน)
- ถนนนครอินทร์ (ทางหลวงชนบท นบ.1020)
- ถนนราชพฤกษ์ (ทางหลวงชนบท นบ.3021)
- ถนนจรัญสนิทวงศ์ (หน้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
- ถนนเทอดพระเกียรติ (เชื่อมถนนบางกรวย-ไทรน้อยกับถนนสิรินธร)
- ถนนบางกรวย-จงถนอม (เชื่อมเขตเทศบาลเมืองบางกรวยเข้ากับเขตเทศบาลตำบลปลายบาง)
- ถนนปลายบางและถนนบางคูเวียง (ถนนสายหลักในเขตเทศบาลตำบลปลายบาง)
- ถนนสำเร็จพัฒนาและถนนอัจฉริยะพัฒนา (ไปสู่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม)
นอกจากนี้ อำเภอบางกรวยยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอีก 1 แห่ง คือ
- สะพานพระราม 7 เชื่อมระหว่างตำบลบางกรวย (และแขวงบางอ้อ เขตบางพลัด) กับแขวงวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร