Category Archives: จังหวัดชลบุรี
จังหวัดชลบุรี
จังหวัดชลบุรี ชลบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย[2] ชุมชนเมืองศูนย์กลางของจังหวัด คือ เทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรีมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ โดยมีเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ คือ เมืองพัทยา นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก ทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดต่อ (ตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทิศเหนือ) ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และติดต่อกับอ่าวไทยทางทิศตะวันตก ประชากรของจังหวัดมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยประชากรในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน[1]
ภูมิศาสตร์[แก้]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
จังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย หรือชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 12 องศา 30 ลิปดา ถึง 13 องศา 43 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศา 45 ลิปดา ถึง 101 องศา 45 ลิปดาตะวันออก และมีอาณาเขตจรดจังหวัดข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดระยอง
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยอง
- ทิศตะวันตก ติดกับอ่าวไทย
ภูมิประเทศ[แก้]
จังหวัดชลบุรีมีภูเขาทอดอยู่เกือบกลางของจังหวัดเป็นแนวยาวจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับเนินเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล ตอนเหนือเป็นที่ราบเหมาะแก่การกสิกรรม ทิศตะวันออกและทิศใต้เดิมเป็นป่าเขาพื้นที่ลุ่มดอน แต่ปัจจุบันเปลี่ยนสภาพจากป่าไม้เป็นที่โล่งเตียนใช้เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าว สับปะรด ยางพารา และมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งจะพบแหล่งเพาะปลูกเกือบทุกอำเภอ มีชายฝั่งทะเลและหาดสวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจหลายแห่ง เช่น ชายหาดบางแสน พัทยา เป็นต้น ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย ยกเว้นบางส่วนของอำเภอพนัสนิคม และส่วนใหญ่ของอำเภอพานทองจะเป็นดินเหนียว และดินตะกอน แหล่งน้ำธรรมชาติมีน้อยจึงมีปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำประกอบกับมีการบุกรุกแผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรมจากการทำไร่มันสำปะหลังและไร่อ้อย
ภูมิอากาศ[แก้]
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ในเขตมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากทั้งลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ ส่งผลให้จังหวัดชลบุรีมีฤดูกาลแตกต่างกันอย่างชัดเจน 3 ฤดู ได้แก่[3]
- ฤดูร้อน เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม อากาศค่อนข้างอบอ้าว แต่ไม่ถึงกับร้อนจัด
- ฤดูฝน เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม มีฝนตกกระจายทั่วไป โดยมักตกหนักในเขตป่าและภูเขา
- ฤดูหนาว เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศไม่หนาวจัด ทว่าเย็นสบาย ท้องฟ้าสดใส ปลอดโปร่ง และมีแดดตลอดวัน นับเป็นช่วงเวลาซึ่งชายหาดจะคึกคักไปด้วยนักท่องเที่ยว ส่วนภาคเกษตร ในฤดูนี้เป็นเวลาที่ค่อนข้างแล้ง เพราะฝนทิ้งช่วงหลายเดือน
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
จังหวัดชลบุรีแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 11 อำเภอ 92 ตำบล 687 หมู่บ้าน โดยอำเภอทั้ง 11 อำเภอมีดังนี้
ลำดับ [# 1] |
ชื่ออำเภอ | อักษรโรมัน | ชั้น [4] |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ห่างจากศาลากลาง (กม.)[5] |
ตั้งเมื่อ (พ.ศ.) |
ตำบล [# 2][6] |
หมู่บ้าน [# 3][6] |
ประชากร (คน) |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | Mueang Chonburi | พิเศษ |
228.8
|
– | 2481 | 18 | 107 |
342,951
|
![]() |
|
2 | Ban Bueng |
646.3
|
17 | 2481 | 8 | 52 |
110,194
|
|||
3 | Nong Yai |
397.5
|
53 | 2524 | 5 | 24 |
23,974
|
|||
4 | Bang Lamung |
727
|
48 | 2444 | 8 | 72 |
328,958
|
|||
5 | Phanthong |
173
|
24 | 2481 | 11 | 76 |
75,508
|
|||
6 | Phanat Nikhom |
450.9
|
26 | 2495 | 20 | 185 |
124,905
|
|||
7 | Sriracha |
643.558
|
24 | 2437[# 4] | 8 | 73 |
319,100
|
|||
8 | Koh Sichang |
17.3
|
37 | 2437 | 1 | 7 |
4,535
|
|||
9 | Sattahip |
348.122
|
86 | 2496 | 5 | 40 |
164,273
|
|||
10 | Bo Thong |
781.6
|
59 | 2528 | 6 | 47 |
49,835
|
|||
11 | Koh Chan |
248.8
|
54 | 2550 | 2 | 27 |
39,400
|
- ↑ เรียงตามรหัสเขตการปกครองของกรมการปกครอง
- ↑ รวมตำบลในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
- ↑ รวมหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
- ↑ ในนาม “อำเภอบางพระ”
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
จังหวัดชลบุรีมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 99 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี มีเทศบาล 47 แห่ง เป็นเทศบาลนคร 2 แห่ง เทศบาลเมือง 10 แห่ง และเทศบาลตำบล 36 แห่ง ที่เหลือเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 49 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 1 แห่ง คือ เมืองพัทยา[7] โดยเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดชลบุรี (รวมเมืองพัทยา) มีดังนี้

|
|
|
|
- หมายเหตุ
- ก เมืองพัทยาไม่เป็นเทศบาล แต่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
- ข เทศบาลนครแหลมฉบังตั้งอยู่ทั้งในอำเภอบางละมุงและในอำเภอศรีราชา
เศรษฐกิจ[แก้]
จังหวัดชลบุรีมีผลิตภัณฑ์จังหวัด ณ ราคาตลาดปัจจุบัน (GPP; Gross Provincial Product at Current Market Prices) 892,062 ล้านบาท ใน พ.ศ. 2563 เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ รองจากกรุงเทพมหานคร[8] โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดชลบุรี ขึ้นอยู่กับภาคนอกเกษตรเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 98 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ส่วนใหญ่มาจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ
ภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2562 จังหวัดชลบุรีมีโรงงานอุตสาหกรรม 5,347 แห่ง[9] แบ่งตามประเภทได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต อาหาร รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ พลาสติก เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนรถยนต์ เหล็กและโลหะ อุตสาหกรรมเคมีและเคมีภัณฑ์ โรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตร และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม เช่น นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง
ภาคบริการ ได้แก่ การขายส่งและการขายปลีกฯ การไฟฟ้า แก๊ส การขนส่ง ที่พักแรม และบริการด้านอาหาร การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า จังหวัดชลบุรีมีท่าเรือพาณิชย์ที่สำคัญ ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ[10] ท่าเรือศรีราชาฮาร์เบอร์[11] ท่าเรือสยามคอมเมอร์เชียลซีพอร์ต ท่าเรือเคอรี่สยามซีพอร์ต
ส่วนภาคเกษตรมูลค่า คิดเป็นร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สาขาเกษตร ได้แก่ มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา สาขาประมงพาณิชย์ สาขาป่าไม้ สาขาปศุสัตว์ ได้แก่ ไก่เนื้อ และสุกร
ประชากร[แก้]
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
2549 | 1,205,574 | — |
2550 | 1,233,446 | +2.3% |
2551 | 1,264,687 | +2.5% |
2552 | 1,289,590 | +2.0% |
2553 | 1,316,293 | +2.1% |
2554 | 1,338,656 | +1.7% |
2555 | 1,364,002 | +1.9% |
2556 | 1,390,354 | +1.9% |
2557 | 1,421,425 | +2.2% |
2558 | 1,455,039 | +2.4% |
2559 | 1,483,049 | +1.9% |
2560 | 1,509,125 | +1.8% |
อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย[12] |
ตามข้อมูลจำนวนประชากรของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จังหวัดชลบุรีมีประชากร 1,583,672 คน[1] คิดเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ โดยแบ่งเป็นประชากรเพศชาย 772,463 คน และประชากรเพศหญิง 811,209 คน[1] มีความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ย 362.98 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศ อำเภอที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดและมีความหนาแน่นมากที่สุด คือ อำเภอเมืองชลบุรี มีประชากรอาศัยอยู่ 330,156 คน มีความหนาแน่น 1,442.98 คนต่อตารางกิโลเมตร ในขณะที่อำเภอที่มีประชากรน้อยที่สุด คือ อำเภอเกาะสีชัง มีประชากรอาศัยอยู่ 4,580 คน ส่วนอำเภอที่ประชากรเบาบางที่สุด คือ อำเภอหนองใหญ่ ซึ่งมีความหนาแน่นประชากรเฉลี่ย 59.44 คนต่อตารางกิโลเมตร
จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2558[13] ประชากรจังหวัดชลบุรีประมาณร้อยละ 97.87 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นศาสนาอิสลามร้อยละ 1.56 และศาสนาคริสต์ร้อยละ 0.60
ศาสนา | จำนวน (คน)[13] | ร้อยละ |
---|---|---|
พุทธ | 1,256,081 | 97.87 |
อิสลาม | 20,000 | 1.56 |
คริสต์ | 7,707 | 0.60 |
อื่น ๆ | 800 | 0.06% |
การขนส่ง[แก้]
จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีเส้นทางคมนาคมที่ดีจังหวัดหนึ่งของประเทศ โดยมีระบบการขนส่งทั่วถึงและสะดวกทั้งการขนส่งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ รวมทั้งมีการขนส่งทางท่อสำหรับสินค้าเหลว ได้แก่ น้ำมันและสารเคมี การขนส่งของจังหวัดชลบุรีในปัจจุบันอาศัยทางบกเป็นหลัก นอกจากนั้นยังมีการขนส่งทางเรือและทางอากาศ ซึ่งสามารถพัฒนาศักยภาพให้เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
จังหวัดชลบุรีมีท่าอากาศยานขนาดเล็ก 1 แห่งคือ สนามบินบางพระ ตั้งอยู่ในอำเภอศรีราชา เป็นสนามฝึกซ้อมสำหรับเครื่องบินลำเล็ก จึงไม่ได้เปิดให้บริการขนส่งทางอากาศเพื่อการพาณิชย์ทั่วไป

เนื่องจากจังหวัดชลบุรีมีสภาพภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยต่อการขนส่งทางทะเล กล่าวคือด้านตะวันตกของจังหวัดเป็นชายฝั่งที่มีแนวยาวระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร โดยหลายแห่งเป็นชายหาดที่งดงาม และบางแห่งเหมาะจะเป็นท่าจอดเรือ ส่งผลให้ชายฝั่งทะเลของจังหวัดมีท่าเทียบเรือประมงและท่าเทียบเรือสินค้า ทั้งที่เป็นท่าเทียบเรือของเอกชนและท่าเทียบเรือพาณิชย์สำหรับขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ รวมถึงการขนส่งสินค้าเลียบตามชายฝั่งทะเลตะวันออกเข้าสู่ท่าเรือกรุงเทพฯ
การขนส่งทางรถไฟของจังหวัดชลบุรีอาศัยเส้นทางรถไฟสายตะวันออก โดยเริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร–ฉะเชิงเทรา–ศรีราชา เมื่อรัฐบาลมีโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ขึ้น เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าจากท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ ท่าเรือน้ำลึกนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และท่าเรือน้ำลึกนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

การขนส่งทางรถยนต์เป็นระบบการคมนาคมสำคัญที่สุดของจังหวัดชลบุรี และมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน โครงข่ายนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง โดยจังหวัดชลบุรีมีถนนที่สร้างเสร็จแล้วเป็นระยะทาง 745.497 กิโลเมตร เป็นทางหลวงแผ่นดินรวมระยะทาง 745.497 กิโลเมตร และระยะทางต่อ 2 ช่องจราจรคิดเป็นระยะทาง 1,191.408 กิโลเมตร ทางหลวงสายหลักของจังหวัดชลบุรี เช่น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7, ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3) เป็นต้น
การศึกษา[แก้]

จังหวัดชลบุรีมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่
นอกจากนี้ ยังมีสถาบันและวิทยาลัยอื่น ๆ ได้แก่
- มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี
- วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี
- วิทยาลัยมหาดไทย
- วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี
- วิทยาลัยเทคนิคพัทยา (เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพบางละมุง)
- วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี
- วิทยาลัยการอาชีพพนัสนิคม
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี
- วิทยาลัยเทคนิคบางแสน (เดิมชื่อ วิทยาลัยสารพัดช่างชลบุรี)
- วิทยาลัยดุสิตธานี ศูนย์เมืองพัทยา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีดาราสมุทรบริหารธุรกิจ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรีบริหารธุรกิจ (CAT)
- วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยอิโตะ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค)
- วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีราชา
- วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรพัทยา
- วิทยาลัยวิศวกรรมแหลมฉบัง
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (เดิมชื่อ วิทยาลัยการอาชีพพานทอง)
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาศรีราชา