Category Archives: อำเภอบ่อทอง
อำเภอบ่อทอง
อำเภอบ่อทอง เป็นอำเภอของจังหวัดชลบุรี เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพนัสนิคม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอปี พ.ศ. 2521[1] และตั้งเป็นอำเภอลำดับที่ 10 ของทางจังหวัดปี พ.ศ. 2528[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
อำเภอบ่อทอง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเกาะจันทร์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอท่าตะเกียบ (จังหวัดฉะเชิงเทรา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแก่งหางแมว (จังหวัดจันทบุรี) อำเภอเขาชะเมา อำเภอวังจันทร์ (จังหวัดระยอง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ้านบึง และอำเภอพนัสนิคม
ประวัติ
[แก้]
ท้องที่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลบ่อทอง อำเภอพนัสนิคม ในปี พ.ศ. 2517 ทางราชการได้เห็นว่าพื้นที่บริเวณหมู่บ้านอมพนม มีลักษณะพื้นที่มีความเจริญ เป็นที่ตั้งของตลาด สถานีตำรวจ มีระยะห่างจากอำเภอต้นสังกัดมากกว่า 38 กิโลเมตร มีพื้นที่กว้างขวาง ในปี พ.ศ. 2518 ทางราชการจึงพิจารณาให้ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ และตั้ง 2 ตำบลเพิ่มเพื่อให้เข้าเงื่อนไขในการจัดตั้ง โดยแยกหมู่ 12 ตำบลหมอนนาง, หมู่ 9 ตำบลท่าบุญมี และหมู่ 5,7 ตำบลบ่อทอง ตั้งเป็น ตำบลบ่อกวางทอง และแยกหมู่ 2–4 ตำบลบ่อทอง ตั้งเป็น ตำบลวัดสุวรรณ[3]
นายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี และพลเอกเล็ก แนวมาลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแยกพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลบ่อทอง ตำบลบ่อกวางทอง และตำบลวัดสุวรรณ ของอำเภอพนัสนิคม ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ[1] ภายในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2521 และตั้งที่ว่าการกิ่งที่บ้านอมพนม โดยใช้ชื่อกิ่ง “บ่อทอง” ตามตำนานเชื่อว่าเป็นเมืองเก่าแก่ของเจ้าผู้ครองนคร ชื่อ พญาเร่ ซึ่งมีอายุราว 1,300 ปี และปี พ.ศ. 2460 มีการขุดค้นพบแร่ทองคำครั้งแรกโดยชาวกุหล่า ซึ่งอพยพตั้งถิ่นฐานที่ค้นพบแร่ทองคำ และตั้งชื่อว่า “บ่อทอง”
นายประกิต อุตตะโมต ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ประกาศตั้งตำบลเพิ่ม 2 ตำบล โดยแยกหมู่ 2–4 ตำบลบ่อทอง ตั้งเป็น ตำบลธาตุทอง ในปี พ.ศ. 2524[4] และแยกหมู่ 6–10 ตำบลวัดสุวรรณ ตั้งเป็น ตำบลเกษตรสุวรรณ ในปี พ.ศ. 2525[5] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2528 เมื่อพื้นที่มีความเจริญ เป็นที่ตั้งของสุขาภิบาล[6] สถานีตำรวจ[7] ไปรษณีย์โทรเลข[8] รวมทั้งศูนย์ราชการ และเป็นที่ประชุมชนมากขึ้น จึงมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ[2] ปี พ.ศ. 2537 ได้แยก 5 หมู่บ้านของตำบลบ่อทอง ตั้งเป็น ตำบลพลวงทอง[9] เป็นตำบลลำดับที่ 6 ของทางอำเภอ จนถึงปัจจุบัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]
อำเภอบ่อทองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บ่อทอง | (Bo Thong) | 9 หมู่บ้าน | ||
2. | วัดสุวรรณ | (Wat Suwan) | 7 หมู่บ้าน[10] | ||
3. | บ่อกวางทอง | (Bo Kwang Thong) | 8 หมู่บ้าน[11] | ||
4. | ธาตุทอง | (That Thong) | 9 หมู่บ้าน[12] | ||
5. | เกษตรสุวรรณ | (Kaset Suwan) | 7 หมู่บ้าน | ||
6. | พลวงทอง | (Phluang Thong) | 7 หมู่บ้าน[13] |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]
ท้องที่อำเภอบ่อทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลบ่อทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อทอง (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1) และตำบลวัดสุวรรณ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 6)[6]
- เทศบาลตำบลธาตุทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธาตุทองทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ่อกวางทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อกวางทองทั้งตำบล[14]
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อทอง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลวัดสุวรรณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดสุวรรณ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ่อทอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกษตรสุวรรณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกษตรสุวรรณทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลพลวงทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลวงทองทั้งตำบล