หลังคาเมทัลชีท สะพานสูง : แผ่นเดียว ก็ขาย หลังคาเมทัลชี […]
Category Archives: แขวงสะพานสูง
แขวงสะพานสูง
แขวงสะพานสูง is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
แขวงสะพานสูง เป็นแขวงๆหนึ่งใน 3 แขวงของ เขตสะพานสูง
สะพานสูง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบึงกุ่มและเขตคันนายาว มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตมีนบุรีและเขตลาดกระบัง มีคลองลาดบัวขาว คลองบึงขวาง และคลองแม่จันทร์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตประเวศและเขตสวนหลวง มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701 (ถนนคู่ขนานมอเตอร์เวย์ด้านซ้าย) และคลองบึงบ้านม้าเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางกะปิ มีคลองบึงบ้านม้า คลองโคลัด คลองวังใหญ่บน และคลองบ้านม้า 2 เป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
เขตสะพานสูงเป็นท้องที่ที่มีลำคลองไหลผ่านหลายสาย คลองที่มีความสำคัญ ได้แก่ คลองแสนแสบ คลองบ้านม้า 1 คลองทับช้างล่าง คลองลาดบัวขาว คลองสะพานสูง คลองหลอแหล เป็นต้น ตั้งแต่อดีตมีการสร้างสะพานข้ามคลองขึ้นเพื่อให้ผู้คนทั้งสองฝั่งคลองเหล่านั้นสามารถติดต่อไปมาหาสู่กันได้ แต่เนื่องจากการเดินทางทางน้ำมีความสำคัญมาก จึงจำเป็นต้องสร้างสะพานทรงสูงเข้าไว้เพื่อให้เรือทุกขนาดสามารถลอดผ่านไปได้สะดวก สะพานลักษณะดังกล่าวมีอยู่ทั่วไปในพื้นที่ จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นที่มาของชื่อ “สะพานสูง”[3]
ประวัติ[แก้]
ตำบลสะพานสูง ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นท้องที่การปกครองท้องที่หนึ่งของอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยกระทรวงมหาดไทยได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลนี้ด้วยในปี พ.ศ. 2506[4] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[5] และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[6] ซึ่งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลสะพานสูงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงสะพานสูง อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ
ด้วยเหตุที่เขตบางกะปิมีเนื้อที่กว้างขวางมากและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ขณะที่ท้องที่บางแห่งอยู่ไกลจากสำนักงานเขต ในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ โดยจัดตั้งเขตบึงกุ่ม ประกอบด้วยแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงแยกจากเขตบางกะปิ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กันยายนเป็นต้นไป[7] อย่างไรก็ตาม หลังจากแบ่งเขตใหม่แล้ว เขตบึงกุ่มยังคงมีท้องที่กว้างขวางและมีประชากรหนาแน่น ประกอบกับความเจริญทางด้านสาธารณูปโภคได้หลั่งไหลเข้าสู่พื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงมีประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยรวมพื้นที่แขวงสะพานสูงและหมู่ที่ 7-12 ของแขวงประเวศ เขตประเวศ จัดตั้งเป็น เขตสะพานสูง[8]
และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงสะพานสูงเต็มพื้นที่เขตสะพานสูงอย่างเป็นทางการ เพื่อความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 21 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน[9][10] ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่สำนักงานเขตสะพานสูงได้เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกพร้อมกับสำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนครอีก 5 แห่ง ได้แก่ เขตสายไหม[9] เขตคันนายาว[9] เขตหลักสี่[11] เขตวังทองหลาง[12] และเขตคลองสามวา[13]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงราษฎร์พัฒนาและแขวงทับช้างแยกจากพื้นที่แขวงสะพานสูง โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตสะพานสูงในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง[14] ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
สะพานสูง | Saphan Sung |
29,009
|
10,985
|
||
ราษฎร์พัฒนา | Rat Phatthana |
42,538
|
17,202
|
||
ทับช้าง | Thap Chang |
24,289
|
10,254
|
||
ทั้งหมด |
28.124
|
95,836
|
38,441
|
3,407.62
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตสะพานสูง[15] |
---|
ตราสัญลักษณ์ประจำเขต[แก้]
ตราสัญลักษณ์ประจำเขตสะพานสูง มีลักษณะเป็นตรารูปวงกลม มีองค์ประกอบสำคัญต่างๆ และความหมายดังนี้
- พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณบนก้อนเมฆแบบด้านตรง เป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานครซึ่งได้จำลองจากภาพฝีพระหัตถ์ของพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ซึ่งได้ทรงเขียนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษาของพระองค์ โดยพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้ให้ความหมายแก่ภาพฝีพระหัตถ์นี้ว่า หมายถึง การบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ปวงประชาและทายาทของพระองค์ท่านได้ทรงอนุมัติให้กรุงเทพมหานครจำลองภาพไปเป็นเครื่องหมาย เพื่อให้สมเกียรติกับความหมายที่พระองค์ท่านได้ประทานไว้แต่ก่อน และกรุงเทพมหานครได้ใช้ภาพนี้เป็นเครื่องหมายต้นแบบตราเครื่องหมายของกรุงเทพมหานคร
- สะพาน เป็นเอกลักษณ์ของเขตสะพานสูง ซึ่งมีลำคลองมากมายการสัญจรใช้ทางน้ำเป็นหลัก จึงจำเป็นต้องสร้างสะพานทรงสูงเข้าไว้ เพื่อให้เรือน้อยใหญ่ลอดผ่านใต้สะพานได้สะดวก รวมถึงประชาชนสามารถใช้สะพานเดินข้ามคลองไปมาหาสู่กันได้ทั้งสองฝั่งคลองอีกทางหนึ่ง
- น้ำ หมายถึง เขตสะพานสูงเป็นเขตที่มีคลองมากมาย และประชาชนมีความผูกพันกับคลอง
- ดอกไม้ หมายถึง ความเป็นธรรมชาติ และความร่มรื่น
- สีเขียว หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่ดี ปราศจากมลพิษ
- สีส้ม หมายถึงเป็นสีประจำสำนักงานเขตสะพานสูง[16]
การคมนาคม[แก้]
ในพื้นที่เขตสะพานสูงมีทางสายหลัก ได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก
- ถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3)
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
สถานที่สำคัญ[แก้]
- วัดลาดบัวขาว[17]
- มัสยิดอัลยุซรอ (หลอแหล)
- มัสยิดนูรุ้ลเอี๊ยะห์ซาน (ทับช้างบน)
- หอศิลป์ช่วง มูลพินิจ[18]
- โรงเรียนสุเหร่าทับช้างคลองบน
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
- โรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่
- โรงพยาบาลการุณเวช (เกษมราษฎร์ สุขาภิบาล 3 เดิม)
- สมาคมพิทักษ์สัตว์ (ไทย)
- โรงเรียนศรีพฤฒา