แผ่นครอบ คุ้มเกล้า : บานเกร็ด ติดฉนวนพีอี ย้ำโค้งปลาย ส […]
Category Archives: ถนนคุ้มเกล้า
ถนนคุ้มเกล้า
ถนนคุ้มเกล้า เป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งของ เขตลาดกระบัง เป็นเขตการปกครองที่มีพื้นที่มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของกรุงเทพมหานคร (รองจากเขตหนองจอก) สภาพโดยทั่วไปเป็นท้องทุ่ง มีแหล่งชุมชนหนาแน่นทางทิศใต้และมีเขตนิคมอุตสาหกรรมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพื้นที่
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
เขตลาดกระบังตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตมีนบุรีและเขตหนองจอก มีคลองลำนายโส คลองสองต้นนุ่น ลำรางคอวัง ถนนร่มเกล้า แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างเขตมีนบุรีกับเขตลาดกระบัง ลำรางศาลเจ้าพ่อต่วน ลำรางตาเสือ แนวคันนาผ่านถนนคุ้มเกล้า ลำรางตาทรัพย์ คลองบึงใหญ่ คลองลำกอไผ่ คลองลำมะขาม คลองลำปลาทิว (คลองขุดใหม่) คลองลำพะอง คลองกระทุ่มล้ม คลองลำตาอิน และคลองลำตาแฟงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา (จังหวัดฉะเชิงเทรา) มีคลองหลวงแพ่งและคลองประเวศบุรีรมย์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง และอำเภอบางพลี (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองกาหลงและแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรปราการเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตประเวศและเขตสะพานสูง มีคลองตาพุก คลองแม่จันทร์ คลองลำอ้อตัน (ลำบึงขวาง) และคลองลาดบัวขาวเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
[แก้]
เดิมเขตลาดกระบังเป็นพื้นที่การปกครองของเมืองมีนบุรีซึ่งเป็นเมือง (จังหวัด) หนึ่งในมณฑลกรุงเทพ มีชื่อเรียกว่า อำเภอแสนแสบ ต่อมาใน พ.ศ. 2470 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอลาดกระบัง เพื่อให้ตรงกับชื่อตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ[3] และใน พ.ศ. 2474 จังหวัดมีนบุรีถูกยุบมารวมกับจังหวัดพระนคร[4] อำเภอลาดกระบังจึงย้ายมาขึ้นกับจังหวัดพระนครด้วย
ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2481 กระทรวงมหาดไทยได้ยุบอำเภอลาดกระบังลงเป็น กิ่งอำเภอลาดกระบัง ขึ้นกับอำเภอมีนบุรี เนื่องจากในขณะนั้นมีปริมาณงานไม่มากนักและมีจำนวนประชากรน้อย[5] จนกระทั่งในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2500 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอลาดกระบัง อีกครั้ง[6] โดยได้โอนตำบลแสนแสบไปขึ้นกับอำเภอมีนบุรี และแบ่งพื้นที่บางส่วนของตำบลทับยาว มาจัดตั้งเป็นตำบลขุมทองใน พ.ศ. 2504[7]
ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติรวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515 อำเภอลาดกระบังจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตลาดกระบัง ตั้งแต่นั้น
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]
เขตลาดกระบังแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 6 แขวง ได้แก่
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ประชากร
[แก้]
สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตลาดกระบัง[8] |
---|
การคมนาคม
[แก้]
ทางสายหลักในพื้นที่เขตลาดกระบัง ได้แก่
|
|
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
ขนส่งมวลชนทางราง