กำแพงเพชร ลูกหมุนระบาย อากาศ พร้อมแผ่นฐาน กำแพงเพชร ลูก […]
Category Archives: ถนนกำแพงเพชร
ถนนกำแพงเพชร
ถนนกำแพงเพชร is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
ถนนกำแพงเพชร เป็นถนนทางสายหลักของ เขตพญาไท
เขตพญาไท เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตพญาไทตั้งอยู่ทางฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางซื่อและเขตจตุจักร มีคลองบางซื่อเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตดินแดง มีถนนวิภาวดีรังสิตฟากตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตดินแดงและเขตราชเทวี มีถนนดินแดงฟากใต้และคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตดุสิต มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
อำเภอพญาไท ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2509[2] ตั้งชื่อตามพระราชวังพญาไทซึ่งเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นตำหนักสำหรับเสด็จประพาสบนที่ดินริมคลองสามเสน ทุ่งพญาไท[3] ช่วงแรกอำเภอพญาไทแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล เป็นพื้นที่อำเภอดุสิตเดิม 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลทุ่งพญาไท ตำบลถนนพญาไท ตำบลถนนเพชรบุรี ตำบลมักกะสัน และตำบลสามเสนใน และเป็นพื้นที่อำเภอบางกะปิเดิม 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วยขวางและตำบลบางกะปิ[2] จนกระทั่งใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[4] และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[5] ซึ่งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย อำเภอพญาไทได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพญาไท ส่วนตำบลต่าง ๆ ก็เปลี่ยนฐานะเป็นแขวง
จากนั้นทางราชการได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่ปกครองของเขตพญาไทหลายครั้ง เพื่อจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความสมดุล เริ่มตั้งแต่ใน พ.ศ. 2516 แขวงห้วยขวางและแขวงบางกะปิได้รับการยกฐานะเป็นเขตห้วยขวาง[6] ต่อมาใน พ.ศ. 2521 แขวงดินแดงและบางส่วนของแขวงสามเสนในถูกโอนไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง ในขณะที่พื้นที่บางส่วนของแขวงห้วยขวางและแขวงบางกะปิก็ถูกโอนมารวมกับแขวงสามเสนในและแขวงมักกะสัน[7] ใน พ.ศ. 2532 พื้นที่ 4 แขวงทางทิศใต้ของเขตได้ถูกแยกออกไปตั้งเป็นเขตราชเทวี[8] การปรับปรุงเขตปกครองครั้งนี้ส่งผลให้เขตพญาไทเหลือแขวงสามเสนในอยู่เพียงแขวงเดียว ส่วนพระราชวังพญาไทซึ่งเป็นที่มาของชื่อเขต รวมทั้งถนนพญาไทก็ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ของเขตอีกต่อไป แต่ไปอยู่ในเขตราชเทวีแทน และสุดท้ายในปี พ.ศ. 2537 พื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขตก็ถูกแยกไปรวมกับเขตดินแดงที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่[9]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงพญาไทแยกจากพื้นที่แขวงสามเสนใน โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตพญาไทในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง[10] ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
สามเสนใน | Sam Sen Nai |
34,104
|
20,256
|
||
พญาไท | Phaya Thai |
36,237
|
22,406
|
||
ทั้งหมด |
9.595
|
70,341
|
42,662
|
7,331.00
|
โดยมีถนนพหลโยธินเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างสองแขวงดังกล่าว
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตพญาไท[11] |
---|
สถานที่สำคัญ[แก้]
ตามที่ปรากฏในคำขวัญของเขต เขตพญาไทมีสถานที่ราชการ โดยเฉพาะที่ตั้งหน่วยทางทหารและตำรวจอยู่หลายแห่ง มีส่วนราชการพลเรือนระดับกระทรวงอยู่ 2 กระทรวง นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและโทรคมนาคมด้วย กล่าวคือ กรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ศูนย์ข่าววิทยุกองทัพบก ทรูวิชั่นส์ ทีเอ็นเอ็น24 ทรูโฟร์ยู พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มีระบบรถไฟฟ้าตัดผ่านในพื้นที่เขต และมีย่านสะพานควาย ซึ่งแต่เดิมเคยมีสภาพเป็นทุ่งนาและตลาดนัดซื้อขายโคกระบือ แต่ต่อมาเมื่อบ้านเมืองขยายตัวขึ้น ก็ได้กลายสภาพเป็นแหล่งชุมชนหนาแน่น มีอาคารร้านค้า ห้างสรรพสินค้า อาทิ ศรีศุภราชอาเขต ที่ตั้งห้างสรรพสินค้าเมอร์รี่คิงส์ สะพานควาย (เลิกกิจการไปแล้ว) และห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เป็นต้น สถานที่สำคัญในเขตนี้ มีอาทิ
- วัดไผ่ตัน เป็นวัดพุทธศาสนาแห่งเดียวในพื้นที่เขต
- วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
- กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ และกองพันในสังกัด คือ กองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์
- กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และกองพันในสังกัด คือ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และ กองพันทหารราบที่ 4 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- สโมสรทหารบก (ส่วนกลาง) ถนนวิภาวดีรังสิต
- สนามกีฬากองทัพบก
- กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
- กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน
- กระทรวงการคลัง
- กรมสรรพากร
- กรมธนารักษ์
- กรมบัญชีกลาง
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- กรมควบคุมมลพิษ
- กรมทรัพยากรน้ำ
- สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
- ไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก
- โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
- ศูนย์ข่าววิทยุกองทัพบก
- ทรูวิชั่นส์
- ทีเอ็นเอ็น 24
- ทรูโฟร์ยู
- สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
- พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน
- กรมประชาสัมพันธ์
- สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
- กรมโยธาธิการและผังเมือง
- ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่
- ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
- ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
- ธนาคารกสิกรไทย สำนักพหลโยธิน
- โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
- โรงกรองน้ำสามเสน และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้การประปาไทย
โรงพยาบาล[แก้]
การคมนาคม[แก้]
ถนน ถนนสายหลักในพื้นที่เขตพญาไท ได้แก่
- ถนนพหลโยธิน
- ถนนประดิพัทธ์
- ถนนวิภาวดีรังสิต
- ถนนดินแดง
- ถนนพระรามที่ 6
- ถนนนครไชยศรี
- ถนนกำแพงเพชร
- ทางพิเศษศรีรัช
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
ระบบขนส่งมวลชน
- ในพื้นที่เขตพญาไท ตามแนวเหนือถนนพหลโยธิน มีสถานีสะพานควาย สถานีสนามเป้า และสถานีอารีย์ของรถไฟฟ้าบีทีเอส
รถไฟ
- ทางรถไฟสายเหนือก็ผ่านพื้นที่เขตนี้ โดยถือเป็นแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างเขตพญาไทกับเขตดุสิตด้วย มีสถานีสามเสนตั้งอยู่ในเขตพญาไท โดยมีพื้นที่บางส่วนของสถานีอยู่ในเขตดุสิต