ป้อมปราบศัตรูพ่าย หลังคา พียู โฟม ป้อมปราบศัตรูพ่าย ห […]
Category Archives: เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
|
|
---|---|
คำขวัญ: ย่านธุรกิจดัง คลังแห่งความรู้ สูงเลิศหรูภูเขาทอง วงเวียน 22 กรกฎา เสริมศาสนาบ้านบาตร เชิดชูชาติมวยไทย รวยน้ำใจหลายมูลนิธิ |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′29″N 100°30′47″E | |
อักษรไทย | เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย |
อักษรโรมัน | Khet Pom Prap Sattru Phai |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 1.931 ตร.กม. (0.746 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 45,701[1] |
• ความหนาแน่น | 23,667.01 คน/ตร.กม. (61,297.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10100 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1008 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 50 ถนนศุภมิตร แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/pomprapsattruphai |
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตดุสิต มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตปทุมวัน มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสัมพันธวงศ์ มีถนนพระรามที่ 4 และถนนเจริญกรุงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตพระนคร มีคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) และถนนราชดำเนินนอกเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ชื่อเขต “ป้อมปราบศัตรูพ่าย” ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ป้อมป้องกันข้าศึกที่ตั้งอยู่ใต้ตลาดนางเลิ้งบ้านญวน[3] ใกล้สะพานนพวงศ์[4] ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดป้อมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตลอดฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม (คูพระนครใหม่ในสมัยนั้น) ต่อมาเมื่อตัวเมืองขยายออกไปมากขึ้นและความจำเป็นในการป้องกันศัตรูด้วยป้อมปราการก็หมดไป ป้อมนี้จึงถูกรื้อลงพร้อมกับป้อมอื่น ๆ
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงนครบาลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2458[5] (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นอำเภอชั้นในอำเภอหนึ่งของกรุงเทพพระมหานคร (เปลี่ยนชื่อมาจากมณฑลกรุงเทพ) ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณถนนหลวง หลังวัดเทพศิรินทราวาส ตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย[3] ต่อมาในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน ได้มีประกาศกระทรวงนครบาลกำหนดเขตการปกครองในกรุงเทพพระมหานครขึ้นใหม่ โดยกำหนดให้อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายรวมอยู่ในท้องที่จังหวัดพระนคร[6]
ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทางการได้เปลี่ยนแปลงฐานะเขตการปกครองขนาดเล็กที่มีอาณาเขตติดต่อกันใกล้ชิดในจังหวัดพระนคร เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายจึงถูกลดฐานะลงเป็น กิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ขึ้นกับอำเภอสามยอด[7] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 ทางการได้ยุบกิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายลง ย้ายที่ว่าการอำเภอสามยอดไปตั้งทำการที่กิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย และเรียกชื่อว่า อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย[8] แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 22 ตำบล[9]
ในปี พ.ศ. 2481 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ทางการได้ปรับปรุงเขตการปกครองใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยให้ยุบรวมอำเภอที่มีขนาดเนื้อที่เล็กและจำนวนประชากรไม่มากเข้าด้วยกัน สำหรับอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายได้รับโอนพื้นที่ตำบลวัดโสมนัส ตลาดนางเลิ้ง และมหานาคจากอำเภอนางเลิ้งซึ่งถูกยุบลงในคราวนี้[10] และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่สามแยกถนนหลานหลวงตัดกับถนนพะเนียง ตำบลวัดโสมนัส ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอนางเลิ้ง[9]
ในปี พ.ศ. 2483 มีประกาศเปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ตำบลมหานาคและตลาดนางเลิ้งถูกยุบรวมเข้ากับตำบลวัดโสมนัส ตำบลบ้านบาตรถูกยุบไปรวมกับตำบลวัดเทพศิรินทร์และป้อมปราบศัตรูพ่าย ตำบลโรงเลี้ยงเด็กและสวนมะลิถูกยุบรวมเข้ากับตำบลวัดเทพศิรินทร์ และตำบลวรจักรถูกยุบรวมเข้ากับตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย[11] จากนั้นกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองในจังหวัดพระนครใหม่อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2490 ครั้งนี้กำหนดให้อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล[12]
ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีในปี พ.ศ. 2514[9] ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายได้ย้ายที่ว่าการจากถนนหลานหลวงไปตั้งอยู่ที่ถนนศุภมิตร ตำบลวัดโสมนัส (ที่ตั้งปัจจุบัน)[3] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) ก็มีประกาศคณะปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเมืองหลวงใหม่อีกครั้งจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล[9] อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย นับแต่นั้น
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ป้อมปราบ | Pom Prap |
0.475
|
15,442
|
6,443
|
32,509.47
|
วัดเทพศิรินทร์ | Wat Thep Sirin |
0.340
|
6,909
|
2,749
|
20,320.58
|
คลองมหานาค | Khlong Maha Nak |
0.355
|
9,491
|
5,655
|
26,735.84
|
บ้านบาตร | Ban Bat |
0.316
|
6,932
|
2,601
|
21,936.70
|
วัดโสมนัส | Wat Sommanat |
0.445
|
6,927
|
2,207
|
15,566.29
|
ทั้งหมด |
1.931
|
45,701
|
19,655
|
23,667.01
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย[13] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ได้แก่
- ถนนพระรามที่ 4 เชื่อมระหว่างสี่แยกหมอมี ถึงสะพานเจริญสวัสดิ์ 36
- ถนนหลานหลวง เชื่อมระหว่างสะพานผ่านฟ้าลีลาศถึงสะพานจตุรพักตร์รังสฤษดิ์ (สี่แยกสะพานขาว)
- ถนนวรจักร เชื่อมถนนเจริญกรุง (สี่แยกเอส เอ บี) กับถนนบำรุงเมือง (สี่แยกแม้นศรี)
- ถนนเจริญกรุง เชื่อมระหว่างสะพานดำรงสถิตกับสี่แยกหมอมี
- ถนนบำรุงเมือง เชื่อมระหว่างสะพานสมมติอมรมารคกับสะพานกษัตริย์ศึก
- ถนนไมตรีจิตต์ เริ่มต้นจากถนนหลวง (ห้าแยกพลับพลาไชย) ผ่านวงเวียน 22 กรกฎาคม สิ้นสุดที่ถนนกรุงเกษม (สี่แยกไมตรีจิตต์)
- ถนนมิตรพันธ์ เชื่อมถนนหลวงกับถนนเจริญกรุง (สี่แยกหมอมี)
- ถนนเสือป่า เชื่อมถนนเจริญกรุง (สี่แยกเสือป่า) กับถนนหลวง (สี่แยกโรงพยาบาลกลาง)
- ถนนจักรพรรดิพงษ์ เชื่อมถนนบำรุงเมือง (สี่แยกแม้นศรี) กับถนนราชดำเนินนอก (สี่แยก จ.ป.ร.)
- ถนนนครสวรรค์ เชื่อมระหว่างสะพานเทวกรรมรังรักษ์กับสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
- ถนนพลับพลาไชย เชื่อมถนนเจริญกรุง (สี่แยกแปลงนาม) กับถนนบำรุงเมือง (สามแยกอนามัย)
- ถนนวงเวียนยี่สิบสองกรกฎาคม เป็นถนนวนรอบวงเวียน 22 กรกฎาคม
-
หลังคาเมทัลชีท ภูเขาทอง : แผ่นเดียว ก็ขาย หลังคาเมทัลชี […]
ไมตรีจิตต์ แผ่นลอนฝ้า ลอนผนัง : แผ่นเดียว ก็ขาย ไมตรีจิ […]
แผ่นครอบ เสือป่า : บานเกร็ด ติดฉนวนพีอี ย้ำโค้งปลาย สะก […]
แผ่นใส สีใสกระจก เจริญกรุง : แผ่นเดียว ก็ขาย แผ่นใส สีใ […]
แผ่นใส สีขาวขุ่น หลานหลวง : แผ่นเดียว ก็ขาย แผ่นใส สีขา […]
หลวง ลูกหมุนระบาย อากาศ พร้อมแผ่นฐาน หลวง ลูกหมุนระบาย […]
หลังคาเมทัลชีท วรจักร : แผ่นเดียว ก็ขาย หลังคาเมทัลชีท […]
วงเวียนยี่สิบสอง แผ่นลอนฝ้า ลอนผนัง : แผ่นเดียว ก็ขาย ว […]
แผ่นครอบ ยุคล 2 : บานเกร็ด ติดฉนวนพีอี ย้ำโค้งปลาย สะกร […]