ไมตรีจิตต์ แผ่นลอนฝ้า ลอนผนัง : แผ่นเดียว ก็ขาย ไมตรีจิ […]
Category Archives: ถนนไมตรีจิตต์
ถนนไมตรีจิตต์
ถนนไมตรีจิตต์ is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by focus keyword name in category.
ถนนไมตรีจิตต์ เป็นถนนทางสายหลักของ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตดุสิต มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตปทุมวัน มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสัมพันธวงศ์ มีถนนพระรามที่ 4 และถนนเจริญกรุงเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตพระนคร มีคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) และถนนราชดำเนินนอกเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
ชื่อเขต “ป้อมปราบศัตรูพ่าย” ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ป้อมป้องกันข้าศึกที่ตั้งอยู่ใต้ตลาดนางเลิ้งบ้านญวน[3] ใกล้สะพานนพวงศ์[4] ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดป้อมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตลอดฝั่งคลองผดุงกรุงเกษม (คูพระนครใหม่ในสมัยนั้น) ต่อมาเมื่อตัวเมืองขยายออกไปมากขึ้นและความจำเป็นในการป้องกันศัตรูด้วยป้อมปราการก็หมดไป ป้อมนี้จึงถูกรื้อลงพร้อมกับป้อมอื่น ๆ
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงนครบาลเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2458[5] (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นอำเภอชั้นในอำเภอหนึ่งของกรุงเทพพระมหานคร (เปลี่ยนชื่อมาจากมณฑลกรุงเทพ) ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณถนนหลวง หลังวัดเทพศิรินทราวาส ตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย[3] ต่อมาในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน ได้มีประกาศกระทรวงนครบาลกำหนดเขตการปกครองในกรุงเทพพระมหานครขึ้นใหม่ โดยกำหนดให้อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายรวมอยู่ในท้องที่จังหวัดพระนคร[6]
ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทางการได้เปลี่ยนแปลงฐานะเขตการปกครองขนาดเล็กที่มีอาณาเขตติดต่อกันใกล้ชิดในจังหวัดพระนคร เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายจึงถูกลดฐานะลงเป็น กิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ขึ้นกับอำเภอสามยอด[7] จนกระทั่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 ทางการได้ยุบกิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายลง ย้ายที่ว่าการอำเภอสามยอดไปตั้งทำการที่กิ่งอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย และเรียกชื่อว่า อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย[8] แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 22 ตำบล[9]
ในปี พ.ศ. 2481 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ทางการได้ปรับปรุงเขตการปกครองใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยให้ยุบรวมอำเภอที่มีขนาดเนื้อที่เล็กและจำนวนประชากรไม่มากเข้าด้วยกัน สำหรับอำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายได้รับโอนพื้นที่ตำบลวัดโสมนัส ตลาดนางเลิ้ง และมหานาคจากอำเภอนางเลิ้งซึ่งถูกยุบลงในคราวนี้[10] และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่สามแยกถนนหลานหลวงตัดกับถนนพะเนียง ตำบลวัดโสมนัส ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอนางเลิ้ง[9]
ในปี พ.ศ. 2483 มีประกาศเปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ตำบลมหานาคและตลาดนางเลิ้งถูกยุบรวมเข้ากับตำบลวัดโสมนัส ตำบลบ้านบาตรถูกยุบไปรวมกับตำบลวัดเทพศิรินทร์และป้อมปราบศัตรูพ่าย ตำบลโรงเลี้ยงเด็กและสวนมะลิถูกยุบรวมเข้ากับตำบลวัดเทพศิรินทร์ และตำบลวรจักรถูกยุบรวมเข้ากับตำบลป้อมปราบศัตรูพ่าย[11] จากนั้นกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงเขตการปกครองในจังหวัดพระนครใหม่อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2490 ครั้งนี้กำหนดให้อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล[12]
ต่อมามีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีในปี พ.ศ. 2514[9] ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายได้ย้ายที่ว่าการจากถนนหลานหลวงไปตั้งอยู่ที่ถนนศุภมิตร ตำบลวัดโสมนัส (ที่ตั้งปัจจุบัน)[3] และในปีถัดมา (พ.ศ. 2515) ก็มีประกาศคณะปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบการบริหารเมืองหลวงใหม่อีกครั้งจากนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล[9] อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่ายจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย นับแต่นั้น
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่น (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ป้อมปราบ | Pom Prap |
0.475
|
15,442
|
6,443
|
32,509.47
|
วัดเทพศิรินทร์ | Wat Thep Sirin |
0.340
|
6,909
|
2,749
|
20,320.58
|
คลองมหานาค | Khlong Maha Nak |
0.355
|
9,491
|
5,655
|
26,735.84
|
บ้านบาตร | Ban Bat |
0.316
|
6,932
|
2,601
|
21,936.70
|
วัดโสมนัส | Wat Sommanat |
0.445
|
6,927
|
2,207
|
15,566.29
|
ทั้งหมด |
1.931
|
45,701
|
19,655
|
23,667.01
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย[13] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ได้แก่
- ถนนพระรามที่ 4 เชื่อมระหว่างสี่แยกหมอมี ถึงสะพานเจริญสวัสดิ์ 36
- ถนนหลานหลวง เชื่อมระหว่างสะพานผ่านฟ้าลีลาศถึงสะพานจตุรพักตร์รังสฤษดิ์ (สี่แยกสะพานขาว)
- ถนนวรจักร เชื่อมถนนเจริญกรุง (สี่แยกเอส เอ บี) กับถนนบำรุงเมือง (สี่แยกแม้นศรี)
- ถนนเจริญกรุง เชื่อมระหว่างสะพานดำรงสถิตกับสี่แยกหมอมี
- ถนนบำรุงเมือง เชื่อมระหว่างสะพานสมมติอมรมารคกับสะพานกษัตริย์ศึก
- ถนนไมตรีจิตต์ เริ่มต้นจากถนนหลวง (ห้าแยกพลับพลาไชย) ผ่านวงเวียน 22 กรกฎาคม สิ้นสุดที่ถนนกรุงเกษม (สี่แยกไมตรีจิตต์)
- ถนนมิตรพันธ์ เชื่อมถนนหลวงกับถนนเจริญกรุง (สี่แยกหมอมี)
- ถนนเสือป่า เชื่อมถนนเจริญกรุง (สี่แยกเสือป่า) กับถนนหลวง (สี่แยกโรงพยาบาลกลาง)
- ถนนจักรพรรดิพงษ์ เชื่อมถนนบำรุงเมือง (สี่แยกแม้นศรี) กับถนนราชดำเนินนอก (สี่แยก จ.ป.ร.)
- ถนนนครสวรรค์ เชื่อมระหว่างสะพานเทวกรรมรังรักษ์กับสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
- ถนนพลับพลาไชย เชื่อมถนนเจริญกรุง (สี่แยกแปลงนาม) กับถนนบำรุงเมือง (สามแยกอนามัย)
- ถนนวงเวียนยี่สิบสองกรกฎาคม เป็นถนนวนรอบวงเวียน 22 กรกฎาคม
- ถนนสันติภาพ เริ่มต้นจากถนนพลับพลาไชย ผ่านวงเวียน 22 กรกฎาคม สิ้นสุดที่ถนนกรุงเกษม
- ถนนหลวง เชื่อมระหว่างสะพานระพีพัฒนภาคกับสะพานนพวงศ์
- ถนนยุคล 2 เชื่อมถนนบำรุงเมือง (สามแยกยุคล 2 หรือสามแยกสวนมะลิ) กับถนนหลวง (สี่แยกโรงพยาบาลกลาง)
- ถนนบริพัตร เชื่อมระหว่างถนนเยาวราชขนานไปกับคลองรอบกรุงหรือคลองโอ่งอ่าง ไปถึงสะพานมหาดไทยอุทิศที่ข้ามคลองมหานาคไปเชื่อมถนนดำรงรักษ์และถนนราชดำเนินนอก
สถานที่สำคัญ[แก้]
- ภูเขาทอง (พระบรมบรรพต) ในวัดสระเกศ
- กระทรวงคมนาคม
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
- วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่)
- เวทีมวยราชดำเนิน
- วัดเทพศิรินทราวาส
- โรงเรียนเทพศิรินทร์
- โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์
- วงเวียน 22 กรกฎา
- วัดพระพิเรนทร์
- วัดสิตาราม
- วัดดิสานุการาม
- วัดสุนทรธรรมทาน
- วัดชัยชนะสงคราม
- วัดเทวีวรญาติ
-