วิภาวดีรังสิต แผ่นลอนฝ้า ลอนผนัง : แผ่นเดียว ก็ขาย วิภา […]
Category Archives: เขตดินแดง
เขตดินแดง
เขตดินแดง is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
เขตดินแดง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร
เขตดินแดง
|
|
---|---|
คำขวัญ: แหล่งเคหะชุมชน คนกระทรวงแรงงาน ศูนย์ศึกษาวิชาทหาร ตึกตระหง่าน กทม. 2 สนามประลองไทย-ญี่ปุ่น สนับสนุน การกีฬา มีอุโมงค์ทางด่วนรถไฟฟ้า ถิ่นนี้หนาคือดินแดง |
|
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°46′11″N 100°33′10″E | |
อักษรไทย | เขตดินแดง |
อักษรโรมัน | Khet Din Daeng |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 8.400 ตร.กม. (3.243 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561) | |
• ทั้งหมด | 120,761[1] |
• ความหนาแน่น | 14,376.30 คน/ตร.กม. (37,234.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 10400 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1026 |
ที่อยู่ สำนักงาน |
เลขที่ 99 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 |
เว็บไซต์ | http://www.bangkok.go.th/dindaeng |
เขตดินแดง เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตดินแดงตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตจตุจักร มีคลองบางซื่อ คลองพระยาเวิก และคลองน้ำแก้วเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีถนนรัชดาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตราชเทวี มีคลองสามเสนเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตพญาไท มีถนนวิภาวดีรังสิตเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตดินแดงในอดีตเป็นทุ่งนากว้างขวาง เช่นเดียวกับท้องที่รอบนอกแห่งอื่น ๆ ในจังหวัดพระนคร จนกระทั่งในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีการตัดถนนต่อจากปลายถนนราชวิถีตรงหัวมุมที่บรรจบกับถนนราชปรารภ (ปัจจุบันคือบริเวณสะพานพรหมโยธี[2] ใกล้ทางแยกสามเหลี่ยมดินแดง เขตราชเทวี) เข้ามาในพื้นที่ และสร้างต่อไปจนถึงบริเวณโรงเรียนพร้อมพรรณวิทยา (ถนนประชาสงเคราะห์) ในปัจจุบัน[3] ต่อมาถนนสายนี้ได้กลายเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในพื้นที่ แต่เนื่องจากใช้ดินลูกรังเป็นวัสดุในการก่อสร้าง เมื่อรถยนต์วิ่งผ่านจึงทำให้เกิดฝุ่นสีแดงกระจายไปทั่ว[3] หลังคาบ้านเรือนถูกฝุ่นจับกลายเป็นสีแดง[2] ผู้คนจึงเรียกถนนสายนี้ว่า “ถนนดินแดง” และเรียกย่านนั้นว่า “ดินแดง”[3] ภายหลังเมื่อทางราชการมีนโยบายเพิ่มเขตการปกครองใหม่ในกรุงเทพมหานคร ก็ได้นำชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อของแขวงและเขตด้วย
ประวัติ[แก้]
แต่เดิมพื้นที่เขตดินแดงเป็นส่วนหนึ่งของตำบลสามเสนในและตำบลสามเสนนอก อำเภอบางซื่อ[4][5] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2481 (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ทางการได้ปรับปรุงเขตการปกครองใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยให้ยุบรวมอำเภอที่มีจำนวนประชากรและปริมาณงานไม่มากเข้าด้วยกัน ทำให้อำเภอบางซื่อถูกยุบลง ตำบลสามเสนในจึงย้ายมาขึ้นกับอำเภอดุสิต ส่วนตำบลสามเสนนอกย้ายไปขึ้นกับอำเภอบางกะปิ[6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ทางราชการได้โอนตำบลสามเสนในมาขึ้นกับอำเภอพญาไทที่ตั้งขึ้นใหม่[7] ส่วนพื้นที่ทางด้านตะวันออกของแขวงสามเสนในเพิ่งได้รับการยกฐานะเป็น “แขวงดินแดง” ขึ้นกับเขตพญาไท[3] หลังจากที่มีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเมืองหลวงเป็นกรุงเทพมหานครไปแล้ว[8]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 จึงมีพระราชกฤษฎีกาโอนแขวงดินแดงไปขึ้นกับเขตห้วยขวาง เพื่อจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรของแต่ละเขตให้มีความเหมาะสมในการปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน[9] ภายหลังเขตห้วยขวางมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น อีกทั้งท้องที่บางแห่งโดยเฉพาะแขวงดินแดงยังอยู่ไกลจากสำนักงานเขตมาก ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริการประชาชน ในปี พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครจึงได้ตั้งสำนักงานเขตห้วยขวาง สาขาดินแดงขึ้น[3] เพื่อดูแลพื้นที่แขวงดินแดง
และในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยรวมพื้นที่แขวงดินแดง บางส่วนของแขวงห้วยขวาง บางส่วนของแขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง บางส่วนของแขวงสามเสนใน เขตพญาไท และบางส่วนของแขวงมักกะสัน เขตราชเทวี มาจัดตั้งเป็น “เขตดินแดง” ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการปกครอง การบริหารราชการ และการให้บริการแก่ประชาชนที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในท้องที่ และในวันที่ 21 ตุลาคม ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครก็ได้ประกาศตั้งแขวงดินแดงเต็มพื้นที่เขตดินแดง โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2537[10][11]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศจัดตั้งแขวงรัชดาภิเษกแยกจากพื้นที่แขวงดินแดง โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตดินแดงในปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง[12] ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ดินแดง | Din Daeng |
75,779
|
37,046
|
||
รัชดาภิเษก | Ratchadaphisek |
44,982
|
24,103
|
||
ทั้งหมด |
8.400
|
120,761
|
61,149
|
14,376.30
|
โดยมีถนนมิตรไมตรีและถนนประชาสงเคราะห์เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างทั้ง 2 แขวงดังกล่าว
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตดินแดง[13] |
---|
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
- 22-25 ธันวาคม พ.ศ. 2556 – มวลชนแนวร่วมของ คณะกรรมการประชาชน เพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) เดินขบวนไปจากสถานที่ชุมนุม เพื่อปิดล้อมรอบนอกสถานที่ มิให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ดำเนินการเปิดรับสมัคร แก่ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 ภายในอาคารกีฬาเวสน์ 2 อนึ่ง ในวันถัดมา (26 ธันวาคม พ.ศ. 2556) เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ซึ่งเป็นองค์กรแนวร่วมของ กปปส. ที่ยังคงปักหลักปิดล้อมสถานที่อยู่รอบนอก เข้าปะทะกับกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เมื่อทราบว่าสำนักงาน กกต.กำลังดำเนินขั้นตอนการรับสมัคร ให้แก่ผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง ส.ส.อยู่ภายใน
การคมนาคม[แก้]
ทางสายหลักในพื้นที่เขตดินแดง ได้แก่
- ถนนวิภาวดีรังสิต
- ถนนรัชดาภิเษก
- ถนนดินแดง
- ถนนอโศก-ดินแดง
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษศรีรัช (ส่วนนอกเมือง)
ส่วนทางสายรอง ได้แก่
|
ทางน้ำมีคลองบางซื่อ คลองน้ำแก้ว คลองสามเสน
และยังมีระบบขนส่งมวลชนตามแผนแม่บท ได้แก่
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามแนวถนนรัชดาภิเษก (สถานีพระราม 9, สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, สถานีสุทธิสาร, สถานีรัชดาภิเษก)
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต, ถนนประชาสงเคราะห์ และตัดขวางบนถนนรัชดาภิเษก (สถานีดินแดง, สถานีประชาสงเคราะห์, สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (ร่วมกับสายสีน้ำเงิน))
- รถไฟฟ้าสายสีฟ้า ตามแนวถนนประชาสงเคราะห์, ถนนมิตรไมตรี, ถนนจตุรทิศ (สถานีประชาสงเคราะห์ (เชื่อมต่อกับสายสีส้ม), สถานีมิตรไมตรี, สถานีดินแดง)